Sale!

โปรแกรมฝึกทำเครื่องปั้นดินเผา : ร้อยลูกปัดแห่งโมคลาน

฿300.00 ฿200.00

https://www.youtube.com/watch?time_continue=284&v=IIKedlAhMV8

 

 

รายละเอียด

เครื่องปั้นดินเผา

ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาโมคลานเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าห่างจากโบราณสถานโมคลานมาทางทิศเหนือราว 100 เมตร ในอดีตกาลประมาณการว่ามีพื้นที่กว่า 100 ไร่ที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองของภูมิภาคนี้ ก่อนที่เครื่องเคลือบจากประเทศจีน และเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัยจะเข้ามาครองตลาด

สิ่งมหัศจรรย์ใจคือ ช่วงเดินลัดเลาะเส้นทางวัดร้างจันทร์ วัดร้างดูก วัดโมคลาน ตลอดจนถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้เต็มไปด้วยเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถมด้วยเศษภาชนะดินเผา ช่วงเดินเลียบสายน้ำแห่งคลองมะยิงจะเห็นเศษภาชนะดินเผาผุดให้เห็นอยู่เนืองๆจนชุมชนแห่งนี้ขนานปรากฏการณ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สายน้ำแห่งคลองมะยิง”

ชาวบ้านหาวิธีคลายความสงสัยจึงพากันขุดเนินดินทราบว่าคือเตาเผาแบบดั้งเดิม(Primitive)แบบหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นต้นแบบของเตาเผาแบบระบายความร้อนขึ้น(Updraught Kilns)  ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษในการใช้ดินจอมปลวกมาก่อเตาเผารักษาความคงทนและเก็บอุณหภูมิอย่างคงที่และยืดเวลาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า เตาหลุม(Pit or Cave Kilns)

จากการขุดค้นพบว่ามีเศษภาชนะดินเผาที่ทับถมอยู่ชั้นลึกมาก และพบภาชนะดินเผารุ่นเก่าเนื้อแกร่งมีลวดลายแปลกๆจำนวนมากซึ่งไม่มีให้พบเห็นในปัจจุบัน เช่น ลายขูดร่องแถวนอกประสมด้วยลายจุดประ ลายประทับเป็นรูปตัว S  ลายประทับรูปต้นไม้ที่มีหัวยอดคล้ายหัวลูกศร เป็นต้น

ในอดีตใช้ดินจาก “ทุ่งน้ำเค็ม” ใช้ไม้ไผ่ฉากสับเป็นชิ้น ใช้แกลบข้าวหรือพืชผักเป็นเชื้อในการเผาให้ได้ออกซิเจนสันดาป(Oxidation) ใช้แป้นหมุนซึ่งที่นี่เรียกว่า “มอน” แบบชิ้นเดียวและ 2 ชิ้น มีน้ำประสานซึ่งที่นี่เรียกว่า “น้ำเขลอะ” ชุบผ้าลูบไปตามผิวภาชนะตามรูปทรง ตกแต่งผิวภายในด้วย “ลูกเถอ” ขัดมันด้วย “สะบ้า” และตกแต่งภายนอกแบบตีให้เป็นลาย หรือกดลาย ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการฉลุลาย การลงน้ำสีในเนื้อดิน การเพ้นท์สี ตลอดจนถึงการประยุกต์ต่างๆ

ความภาคภูมิใจต่อเครื่องปั้นดินเผาโบราณบนผืนดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ตลอดจนถึงการรักษากรรมวิธีในการผลิตตราบจนทุกวันนี้

อนุชนรุ่นหลังราว 5 หลังคาเรือน คณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนโมคลานประชาสรรค์ ตลอดจนถึงองค์กรต่างๆในชุมชนท้องถิ่นพร้อมใจกันสืบสานหัตถศิลป์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ชุมชนโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ให้อยู่เคียงคู่กับชุมชนตลอดไป

บนแผ่นหินตั้งในบริเวณโบราณสถานมีหลักฐานการจารึึกลูกปัดหรือลูกปะคำโบราณ ตลอดจนถึงพันธ์ุไม้นานาพันธ์ุ นอกจากนี้ นายระเหม ยาเหม : โต๊ะอิหมา่มมัสยิดซากีนาตลกุปรอ บ้านอู่ตะเภา ต.โมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เล่าเรื่องราวลูกปัดดินเผา ลูกปัดกระดูก ลูกปัดต้นกัลปังหาซึ่งร้อยด้วยเชือกป่านโบราณที่หลุดขาด  ที่ขุดพบ ณ โบราณสถานโมคลาน แต่ปัจจุบันไม่ทราบอยู่ที่ใด

 

ปริทัศน์โปรแกรม

เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาบรรพชน หน่วยงานต่างๆ อาทิ โรงเรียนโมคลานประชาสรรค์ ศูนย์พึ่งได้พลเมืองหญิงนครศรีธรรมราช จึงได้สืบค้นหาหลักการที่ถูกต้องทางความศรัทธาที่แตกต่างกันไปในการร้อยลูกปัดแห่งโมคลาน อาทิ ลูกตสแบฮ์วิถีมุสลิม ลูกแวร์/ลูกปะคำวิถีพราหมณ์ ลูกปัดวิถีพุทธ ตลอดจนถึงลูกปัดแห่งจินตนาการอันไร้ขีดจำกัด ผ่านการปั้นดินเผาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของชุมชนโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

 

 

 

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “โปรแกรมฝึกทำเครื่องปั้นดินเผา : ร้อยลูกปัดแห่งโมคลาน”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *