Author: kan kansumas

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา (หมวกกุยเล้ย)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา (หมวกกุยเล้ย)

ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเลือกสรรและนำเอาวัสดุที่มีอยู่ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการใช้สอยในจังหวัดฉะเชิงเทราก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัตถุดิบตามธรรมชาติ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบุง กระพ้อมใส่ข้าว หมวกใส่กันแดด แม้กระทั่งผู้ที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองก็จะสานสุ่ม ลอบ ไซ ไว้ดักจับสัตว์น้ำ นับเป็นการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกลมกลืนกับสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อีกทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการจักสาน ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังตลอดมา

ผ้าไหมพุมเรียงสุราษฏร์ธานี

ผ้าไหมพุมเรียงสุราษฏร์ธานี

     การทอผ้าพุมเรียง เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยชาวไทยมุสลิม ที่อพยพมาจากเมืองสงขลา เมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายูในหมู่เกาะอินโดนีเซีย เป็นผู้นำความรู้กระบวนการทอผ้าติดตัวมาด้วย ผ่านถ่ายทอดสืบต่อกันมาด้วยวิธีการสังเกต จดจำ และทดลองปฏิบัติทอจริงโดยไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้รับการสั่งสมภูมิปัญญาและสืบทอดกันมาสู่อนุชนรุ่นหลัง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ในความสวยงามของลายผ้าและความประณีตของฝีมือการทอผ้า โดยถือว่าการทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทั้งชาวไทยพุทธและไทยมุสลิม ที่จะต้องเตรียมไว้ใช้สอยในครอบครัว โดยเฉพาะหญิงสาวที่จะออกเรือนจำเป็นจะต้องเรียนรู้วิธีการทอผ้า เพื่อเตรียมไว้ใช้ในการแต่งงาน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำด้วยผ้า ดังนั้น การมีฝีมือในการทอผ้าจึงเป็นการแสดงถึงความเป็นกุลสตรี

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์พระบรมธาตุไชยาจังหวัดสุราษฏร์ธานี

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฏร์ธานีเจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียว ที่ยังอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 -14 ไม่ปรากฏประวัติการสร้างและผู้สร้าง โดยสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในขณะที่เมืองไชยา สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัดและเป็นสัญลักษณ์ในธงประจำกอง รวมทั้งผ้าพันคอลูกเสือด้วย ดังนั้นการมาเยี่ยมชมวัดพระบรมธาตุไชยาฯ แห่งนี้จึงเป็นเหมือนการเปิดหน้าต่างบานใหญ่ ที่ทำให้เรามองเห็นภาพอันสวยงามจากครั้งหนึ่งในอดีตของสุราษฏร์ธานี

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์พระมหาธาตุหรือเจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลาเป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐดินและอิฐปะการังสอด้วยดินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เจดีย์เป็นรูประฆังคว่ำ หรือรูปโอ่งคว่ำแบบลังกามีปลียอดแหลมอย่างเช่น พระบรมธาตุเจดีย์ที่นครศรีธรรมราช แต่ต่างกันที่ไม่มีรัตนบัลลังก์ โดยประสมประสานสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัยเข้ามา เช่น ทำเป็นมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดทำเป็นสถูปมีเจดีย์บริวาร ๔ มุม ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างเจดีย์คือพระเจ้ากรุงทองแห่งเมืองสทิงพระ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๕๔๒ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๗๗ เจดีย์พระมหาธาตุชำรุดทรุดโทรมมาก ได้มีการบูรณะองค์เจดีย์ขึ้นใหม่แต่ก็ยังคงลักษณะเดิมไว้ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีจะมีประเพณีแห่ผ้าขึ้นห่มพระมหาธาตุเจดีย์  

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์สีหยังเป็นพุทธสถานของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณที่มีร่องรอยว่าเป็นชุมชนคูน้ำคันดินในสมัยนั้น ต่อมาได้กลายเป็นวัดสำคัญในสมัยอยุธยา เดิมวัดสีหยังล้อมรอบด้วยคูเมืองทั้งสี่ด้าน แต่สภาพปัจจุบันคงเหลือร่องรอยคูเมืองไว้เพียงบางส่วนมีคูเมืองด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันออกที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์คูเมืองด้านทิศเหนือ มีร่องรอยคูเมืองกว้างประมาณ ๓๐ เมตร และมีวัชพืชน้ำขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปคูเมืองด้านทิศตะวันออกอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีวัชพืชขึ้นปกคลุมบ้างเล็กน้อย

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์งามจังหวัดพัทลุง

มีพระพุทธรูปก่อล้อมรอบเจดีย์ เจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง ตั้งแต่พื้นดินตลอดยาวประมาณ 18 วา ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 7 วา องค์พระเจดีย์ก่อสร้างด้วยหินปะการังล้วนทั้งองค์ ตั้งแต่ฐานถึงยอด ปล้องไฉนก็สกัดหินปะการังเป็นวงกลมวางซ้อนกันขึ้นไป มีปล้องไฉนจำนวน 59 ปล้องที่ยอดพระเจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว วัดเขียนบางแก้ว จังหวัดพัทลุงเป็นโบราณสถานที่มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งของจังหวัดพัทลุง ประดิษฐานอยู่ภายในวัดเขียนบางแก้ว เชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณวัดเขียนนี้ เป็นที่ตั้งของเมืองพัทลุงมาก่อนเพราะพบซากปรักหักพังของศิลาแลง และพระพุทธรูปมากมาย เช่น พระแก้วคุลาศรีมหาโพธิ (ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น) พระพุทธรูปสองพี่น้อง ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุ เช่น ถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ง ราชวงศ์เหม็ง ราชวงศ์เซ็ง สังคโลกสมัยสุโขทัย ศิวลึงค์ ฐานโยนี และพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้พื้นเมืองเป็นจำนวนมาก เป็นหลักฐานที่แสดงถึงว่าบริเวณนี้มีการติดต่อรับอารยธรรมอินเดียมาตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้วเป็นเจดีย์ก่ออิฐฐาน ๘ เหลี่ยม สันนิษฐานว่าได้รับรูปแบบการสร้างมาจากพระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากพระบรมธาตุ นอกจากนั้นยังมีระเบียงหรือวิหารคตเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ล้อมรอบพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง ๓ ด้านยกเว้นทางด้านทิศตะวันออก ภายในเป็นวิหารคตเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน ๓๔ องค์ มีรูปร่างแตกต่างไม่เหมือนกันบางองค์ยิ้มบางองค์น่าหน้าดุดัน แต่ที่เหมือนกันคือหันหน้าเข้าหาเจดีย์ทั้งสิ้น

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ไข่เค็มไชยา)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ไข่เค็มไชยา)

ประวัติความเป็นมา      เมืองไชยาหรือเมือศรีวิชัย ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12–17 แต่การทำไข่เค็มเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2466 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีนายกี่ แซ่ฝัก ชาวจีนกวางตุ้ง ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโรงทอง อำเภอเมืองไชยา มีอาชีพเป็นช่างทำสะพานเหล็ก ทางรถไฟสายชุมพร-สุราษฎร์ธานี และเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ ต่อมามีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรจะเก็บไข่ไว้ได้นาน ซึ่งใช้ภูมิปัญญา จนกระทั่งยอมรับวิธีการใช้ดินจอมปลวกในอำเภอไชยามาผสมเกลือป่นในอัตราส่วนพอเหมาะ นำมาพอกไข่เป็ดสดที่ได้จากเป็ดที่เลี้ยงเอง คลุกขี้เถ้าแกลบไว้นานพอประมาณ แล้วนำมาต้มกินจะได้ไข่เค็มที่แดงเป็นมัน หอม รสชาติอร่อย ทำให้คนอื่น ๆ ในตลาดไชยาหันมาผลิตไข่เค็มขายกันเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ. 2477 ไข่เค็มได้พัฒนาจนมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ใครไปใครมาก็จะซื้อเป็นของฝากในนาม “ไข่เค็มไชยา” จึงกลายเป็นอาชีพของชาวไชยาในปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดสงขลา (ผ้าทอเกาะยอ)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดสงขลา (ผ้าทอเกาะยอ)

ประวัติความเป็นมา

          ผ้าทอเกาะยอ หรือผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ผ้าทอเกาะยอส่วนมากทอมาจากเส้นใยฝ้าย มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขิด โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง ทำให้เกิดลายตารางคล้ายกับผ้าขาวม้า นิยมใช้ทำผ้าโสร่งและผ้านุ่ง โดยมีจุดเด่นของผ้าทอเกาะยอจึงอยู่ที่มีลายในเนื้อผ้าที่นูนขึ้นมา มีลายเส้นละเอียดสวยงามและมีความคงทน เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย ลายตารางที่มีขนาดเล็กซ้อน ๆ กัน ทอด้วยด้ายสองสี เช่น สีขาว-แดง สีขาว-แดงแซมดำ สีขาว-แดงแซมเหลือง จึงมักเรียกผ้านี้ว่า “ผ้าลายราชวัตร”

การทอผ้าของชาวเกาะยอนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพเข้ามาเป็นผู้สอนการทอให้กับชาวบ้านในบริเวณนั้น ในระยะแรกของการทอนั้นจะทอเพื่อใช้กันในครัวเรือน และแจกจ่ายญาติมิตร ใช้กี่มือที่มีโครงการเป็นไม้ไผ่ และใช้ตรนแทนลูกกระสวยในการทอ ผ้าที่ทอจะเป็นพื้นเรียบ ๆ ไม่มีลวดลาย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ วัฒนธรรมการทอผ้าถูกถ่ายทอดเข้ามาทำให้รูปแบบการทอผ้าเปลี่ยนไปเป็นแบบยกดอกชนิดต่าง ๆ 

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดราชบุรี (โอ่งมังกร)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดราชบุรี (โอ่งมังกร)

ประวัติความเป็นมา      จากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ในเมืองราชบุรี เล่าว่า สมัยก่อนนั้น โอ่งที่ใช้กักเก็บน้ำชั้นดี ต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผา แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็เป็นไปอย่างยากลำบากรวมถึงโอ่งด้วย จึงจำเป็นต้องผลิตใช้กันเองภายในประเทศ โดยจุดเริ่มต้นของการทำโอ่งขายในจังหวัดราชบุรี มาจากสองสหายชาวจีน ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสยามประเทศ จนได้มาพบแหล่งดินที่ราชบุรี และเห็นว่าเป็นดินดีสีแดงสามารถใช้ปั้นโอ่งได้ จึงลงทุนร่วมหุ้นกัน 3,000 บาท ก่อตั้งโรงงานทำโอ่งขนาดเล็กในปี พ.ศ.2476  ตั้งอยู่บริเวณสนามบิน ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ในช่วงแรก ๆ จะเน้นทำอ่าง ไห กระปุกต่าง ๆ มากกว่าโอ่ง เมื่อกิจการรุ่งเรือง โรงงานจึงขยายตัวและมีการผลิตโอ่งมากขึ้น หุ้นส่วนหลายคนเริ่มแยกตัวออกไปตั้งโรงงานเอง แต่ก็ยังอยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี ทำให้มีโรงงานทำโอ่งกระจายอยู่หลายแห่ง