พื้นที่และเรื่องราว

พระแสงขรรค์

พระแสงขรรค์

พระแสงขรรค์ตามตำราพิไชยสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประทับพระพุทธเจ้า5พระองค์ ลง5ตำแหน่ง พระแสงขรรค์ คือ ภูมิปัญญานับช่วงฝ่ามือและช่วงนิ้วมือ ของครูบาอาจารย์ผู้ประพฤติธรรมเพื่อกำไชย 1.การใช้ช่วงฝ่ามือนับ(5นิ้ว) : “นะไชยไพรนิรันดร์ สุวรรณลาภปราบทุกทิศ ฤทธิเดชเกศกษัตริย์ พลัดมารดรจรจากไกล” ให้ลงตำแหน่งฤทธิเดชฯ 2.การใช้ช่วงนิ้วมือ(คือนิ้วชี้และกลาง) : “สิบหัวปราบลาภนโม มหาสาหดคดหลาวไชย น้ำไหรปีนท่าแม่หม้ายนางนอน พังพอนขึ้นขี้วจีขุนนาง” ให้ลงตำแหน่งสิบหัวปราบฯ

ข้อมูลผักพื้นบ้าน

ข้อมูลผักพื้นบ้าน

ข้อมูลผักพื้นบ้านสามารถ Download ได้ที่นี่ ข้อมูลผักพื้นบ้าน

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา (หมวกกุยเล้ย)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา (หมวกกุยเล้ย)

ประวัติความเป็นมา ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเลือกสรรและนำเอาวัสดุที่มีอยู่ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการใช้สอยในจังหวัดฉะเชิงเทราก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัตถุดิบตามธรรมชาติ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบุง กระพ้อมใส่ข้าว หมวกใส่กันแดด แม้กระทั่งผู้ที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองก็จะสานสุ่ม ลอบ ไซ ไว้ดักจับสัตว์น้ำ นับเป็นการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกลมกลืนกับสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อีกทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการจักสาน ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังตลอดมา

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์พระมหาธาตุหรือเจดีย์พระศรีรัตนมหาธาตุ วัดจะทิ้งพระ จังหวัดสงขลาเป็นเจดีย์ก่อด้วยอิฐดินและอิฐปะการังสอด้วยดินบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เจดีย์เป็นรูประฆังคว่ำ หรือรูปโอ่งคว่ำแบบลังกามีปลียอดแหลมอย่างเช่น พระบรมธาตุเจดีย์ที่นครศรีธรรมราช แต่ต่างกันที่ไม่มีรัตนบัลลังก์ โดยประสมประสานสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัยเข้ามา เช่น ทำเป็นมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดทำเป็นสถูปมีเจดีย์บริวาร ๔ มุม ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างเจดีย์คือพระเจ้ากรุงทองแห่งเมืองสทิงพระ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๕๔๒ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๔๗๗ เจดีย์พระมหาธาตุชำรุดทรุดโทรมมาก ได้มีการบูรณะองค์เจดีย์ขึ้นใหม่แต่ก็ยังคงลักษณะเดิมไว้ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีจะมีประเพณีแห่ผ้าขึ้นห่มพระมหาธาตุเจดีย์  

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เจดีย์สีหยังเป็นพุทธสถานของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์รัฐโบราณที่มีร่องรอยว่าเป็นชุมชนคูน้ำคันดินในสมัยนั้น ต่อมาได้กลายเป็นวัดสำคัญในสมัยอยุธยา เดิมวัดสีหยังล้อมรอบด้วยคูเมืองทั้งสี่ด้าน แต่สภาพปัจจุบันคงเหลือร่องรอยคูเมืองไว้เพียงบางส่วนมีคูเมืองด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันออกที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์คูเมืองด้านทิศเหนือ มีร่องรอยคูเมืองกว้างประมาณ ๓๐ เมตร และมีวัชพืชน้ำขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปคูเมืองด้านทิศตะวันออกอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์มีวัชพืชขึ้นปกคลุมบ้างเล็กน้อย

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

มีพระพุทธรูปก่อล้อมรอบเจดีย์ เจดีย์ก่อด้วยอิฐถือปูนสูง ตั้งแต่พื้นดินตลอดยาวประมาณ 18 วา ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 7 วา องค์พระเจดีย์ก่อสร้างด้วยหินปะการังล้วนทั้งองค์ ตั้งแต่ฐานถึงยอด ปล้องไฉนก็สกัดหินปะการังเป็นวงกลมวางซ้อนกันขึ้นไป มีปล้องไฉนจำนวน 59 ปล้องที่ยอดพระเจดีย์

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดราชบุรี (โอ่งมังกร)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดราชบุรี (โอ่งมังกร)

ประวัติความเป็นมา      จากคำบอกเล่าของคนเก่าคนแก่ในเมืองราชบุรี เล่าว่า สมัยก่อนนั้น โอ่งที่ใช้กักเก็บน้ำชั้นดี ต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งทำเครื่องปั้นดินเผา แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็เป็นไปอย่างยากลำบากรวมถึงโอ่งด้วย จึงจำเป็นต้องผลิตใช้กันเองภายในประเทศ โดยจุดเริ่มต้นของการทำโอ่งขายในจังหวัดราชบุรี มาจากสองสหายชาวจีน ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในสยามประเทศ จนได้มาพบแหล่งดินที่ราชบุรี และเห็นว่าเป็นดินดีสีแดงสามารถใช้ปั้นโอ่งได้ จึงลงทุนร่วมหุ้นกัน 3,000 บาท ก่อตั้งโรงงานทำโอ่งขนาดเล็กในปี พ.ศ.2476  ตั้งอยู่บริเวณสนามบิน ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลราชบุรี ในช่วงแรก ๆ จะเน้นทำอ่าง ไห กระปุกต่าง ๆ มากกว่าโอ่ง เมื่อกิจการรุ่งเรือง โรงงานจึงขยายตัวและมีการผลิตโอ่งมากขึ้น หุ้นส่วนหลายคนเริ่มแยกตัวออกไปตั้งโรงงานเอง แต่ก็ยังอยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี ทำให้มีโรงงานทำโอ่งกระจายอยู่หลายแห่ง

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดพัทลุง (ข้าวสังข์หยด)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดพัทลุง (ข้าวสังข์หยด)

ประวัติความเป็นมา      ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นข้าวสังข์ที่ปลูกเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยด และส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่นด้วย รวมถึงยังสามารถกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชน     ข้าวสังข์หยดเป็นพันธุข้าวพื้นเมือง เป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นมีแหล่งปลูกดั้งเดิม อยู่ในจังหวัดพัทลุง ปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปี มีลักษณะพิเศษ คือ ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง พันธุ์ข้าวสังข์หยดถูกเก็บรักษาไว้โดยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวเมือง พัทลุง ตลอดระยะเวลายาวนาน จากหลักฐานการรวบรวมพันธุ์ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามโครงการบำรุงพันธ์ข้าว เมื่อ พ.ศ. 2493 โดยกองบำรุงรักษาพันธุ์ กรมการค้าข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่า ชื่อข้าวสังข์หยดเป็น 1 ใน 11 ตัวอย่างพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ที่เก็บรวบรวมจากอำเภอเมืองพัทลุง

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช (เครื่องจักสานย่านลิเภา)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช (เครื่องจักสานย่านลิเภา)

     เป็นเครื่องจักสานประเภทหนึ่ง ที่สานด้วยย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเฟิร์น หรือ เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลำต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนำมา จักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ แหล่งผลิตที่สำคัญ ของเครื่องจักสานย่านลิเภาอยู่ที่บ้านหมน ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาค เครื่องจักสานย่านลิเภา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง ในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีกำเนิดจากการจักสานย่านลิเภา เป็นข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่มีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี

โอ่งมังกรราชบุรี

โอ่งมังกรราชบุรี

     โอ่งมังกรถือเป็นสินค้าประจำจังหวัดราชบุรีมากว่า 60 ปี     ด้วยเอกลักษณ์ของดินสีแดงอันมีความเฉพาะตัว และความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเลียนแบบได้ยาก  “เรื่องของโอ่ง”  สถานที่ท่องเที่ยวแนวใหม่ เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวราชบุรีอย่างแท้จริงด้วยความมุ่งมั่นในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม การปั้นโอ่งมังกร  ของจังหวัดราชบุรี ในรูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ทั้งด้านความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของอัตลักษณ์ประจำจังหวัดให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึงความเป็นมาของโอ่งมังกร ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์และดำรงภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวราชบุรี คงไว้ซึ่งเสน่ห์อันเป็นตำนานมีชีวิตและเป็นที่นิยมตลอดไป สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นลูกหลาน “เมืองโอ่งมังกร” และเผยแพร่วัฒนธรรมสู่นานาประเทศ