พื้นที่และเรื่องราว

ผ้าทอเกาะยอสงขลา

ผ้าทอเกาะยอสงขลา

     ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ผ้าทอเกาะยอส่วนมากทอมาจากเส้นใยฝ้าย มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขีด โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง ทำให้เกิดลายตารางคล้ายกับผ้าขาวม้า นิยมใช้ทำผ้าโสร่งและผ้านุ่ง โดยมีจุดเด่นของผ้าทอเกาะยอจึงอยู่ที่มีลายในเนื้อผ้าที่นูนขึ้นมา มีลายเส้ ละเอียดสวยงามและมีความคงทน เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย ลายตารางที่มีขนาดเล็กซ้อน ๆ กัน ทอด้วยด้ายสองสี เช่น สีขาว-แดง สีขาว-แดงแซมดำ สีขาว-แดงแซมเหลือง จึงมักเรียกผ้านี้ว่า “ผ้าลายราชวัตร”

มีดบ้านพร้าวพัทลุง

มีดบ้านพร้าวพัทลุง

     ประวัติความเป็นมา กลุ่มตีเหล็กบ้านพร้าว ได้จัดตั้งกลุ่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๕ บ้านหน้าป่า หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เนื่องจากราษฎรในหมู่บ้าน มีอาชีพทางการเกษตร (ทำสวนยาง) เป็นหลัก เมื่อกรีดยางเสร็จแล้ว ช่วงบ่ายจะมีเวลาว่าง นายวินัย มาลา จึงได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง มารวมกลุ่มกัน เพื่อตีมีด ทำเครื่องมือการเกษตรหลายชนิด โดยนายวินัย มาลา ได้เป็นผู้ฝึกสอนการทำให้กับสมาชิก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด ๑๓ คน เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ -เป็นมีดโบราณ -มีลวดลายไทยรูปแบบต่าง ๆ ในตัวมีด -ผลิตภัณฑ์มีหลายประเภท -รูปแบบตัวมีดเป็นรูปหัวนก รูปหนังตะลุง -การผลิตเป็นแบบดั้งเดิม ใช้แรงงานคน

ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา

ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา

     เครื่องจักสานย่านลิเภา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง ในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีกำเนิดจากการจักสานย่านลิเภา เป็นข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่มีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี จนกระทั่งเป็นที่รู้จักของคนเมืองเหลวง เมื่อเจ้านายจากหัวเมืองใต้ นำขึ้นมาถวายในราชสำนัก และเผยแพร่ในหมู่เจ้านาย มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนในปี พ.ศ.2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ ให้สอนการสานย่านลิเภาในโครงการศิลปาชีพ มีการพัฒนารูปแบบได้อย่างสวยงามประณีต เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และทั่วประเทศ ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของย่านลิเภา ที่มองๆ ดูก็คล้ายๆ กับเถาวัลย์นั้น จะมีความเหนียว ทนทานอายุใช้งานมากเป็นร้อย ๆ ปี  

หนังตะลุง

หนังตะลุง

     หนังตะลุงเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์ ในอินเดียสมัยพุทธกาลพวก พราหมณ์ใช้หนังที่เรียกว่า “ฉายานาฎกะ” เล่นบูชาเทพเจ้าและเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากในประเทศแถบเอเชีย อาคเนย์ ไม่ว่าจะเป็น เขมร ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทยที่เรียกว่า “หนังตะลุง” สันนิฐานว่าเข้า มาในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อกลุ่มพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเข้ามาเผยแผ่ศาสนา เนื่องจากพบว่า มีรูปหนังสมมุติเป็นพระอิศวรซึ่งเป็นใหญ่ในศาสนานี้รวมอยู่ด้วย หนังตะลุงเป็นศิลปะการเล่นเงา ที่มีทั้ง บทพากย์และบทเจรจา โดยแต่ละจังหวัดในภาคใต้ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันทั้งรูปหนังและธรรมเนียมการเล่น แต่ เดิมนิยมนำเรื่องรามเกียรติ์มาแสดงและได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรูปแบบการแสดงให้ทันยุคสมัย นิยมจัดแสดงในงาน เฉลิมฉลองต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวใต้และยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

เงินตรานโม

เงินตรานโม

     “นโม” เงินตราของเมืองคอน  เป็นวัตถุชิ้นเล็กๆที่สร้างขึ้นมาอย่างปราณีต สวยงาม มีความหมายอย่างครบถ้วน ทั้งมีความหมายอย่างกลมกลืน ในตัว ทั้งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องรางของขลังสามารถนำติดตัวไปใช้ คนเมืองคอนเป็นคนช่างคิด  ช่างสร้างสรรค์ ทำเงินตรา”นโม”ด้วยความมีศิลปะที่น่ายกย่องของคนเมืองคอนโบราณ สมดังคำที่ว่า”คนเมืองคอน เมืองนักปราชญ์ มาแต่โบราณ ที่ก่อเกิดวัฒนธรรม “เงินตรานโม”เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งปัจจุบันเป็นศิลปประจำชาติไทยที่ ทั่วโลกยอมรับถึงความเป็นคนอนุรักษ์ประเพณี-วัฒนธรรม คนรุ่นใหม่หรือสืบเชื้อสายโลหิตเมืองนคร ควรนับถือในเกียรติคุณประวัติของโบราณวัตถุอันนี้ของบ้านเราไว้  เงินตรานโมพอจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้ใช้ เพื่อประโยชน์สุขมาแล้ว  เรายังต้องมีน้ำใจนับถือสงวนศักดิ์ศรีต่อโบราณวัตถุนี้ของเราเสมอด้วยของมีค่าอันหนึ่ง ทั้งควรภาคภูมิใจ ที่เมืองนครของเราเคยเป็นราชธานีมาครั้งหนึ่งแล้ว  น่าที่จะรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อรุ่นสู่รุ่น ต่อรุ่นตลอดไป มิใช่หลงธรรมเนียมฝรั่งแล้วเดินตามก้นฝรั่ง ซึ่งไม่มีวัฒนธรรมของความเป็นชาติ ปัจจุบันฝรั่งบางชาติกำลังวิ่งเสาะหาความเป็นชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นมาของตนเองในอดีต ยอมแม้จะสร้างสิ่งนั้นมาอาจเป็นการลวงก็เป็นได้

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

     พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกศาสตร์ มรดกศิลป์คาบสมุทรสยาม ประดิษฐานในวัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์รวมศรัทธา ความเลื่อมใสอันบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ของพุทธศาสนิกชนบนคาบสมุทรสยามมาหลายศตวรรษ     ผลการทดสอบอิฐ12ตัวอย่างเพื่อหาค่าอายุพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยวิธีเรืองแสงความร้อน(Thermoluminescence,TL) อายุอิฐ/ตะกอนดิน(ฐานล่างสุดขององค์พระบรมธาตุ)คือประ มาณ1,021 ค่าบวกลบ51ปี และอายุประมาณ1,119 ค่าบวกลบ67ปี

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

ดาบพระแสงขรรค์คู่เจ้าตากที่ถูกเก็บมานานกว่า๒๕๐ปี ถูกค้นพบ ณ ห้องบรรทมพระเจ้าตากฯ ถ้ำเทวตากฟ้า อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช โดย ดร.สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์ ระหว่างศึกษาประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯบนแผ่นดินนครศรีธรรมราชและพื้นที่ใกล้เคียง

อัญมณีเจ้าตาก

อัญมณีเจ้าตาก

“เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกตเหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอกสีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารสีหมกมัวแดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์” สั่งซื้อสินค้า

แม่ปราง : หน้าตา บุคลิก และลักษณะ

แม่ปราง : หน้าตา บุคลิก และลักษณะ

แม่ปรางคือสนมเอกในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงตั้งฐานทัพและรบพม่าบริเวณกรุงตาก กรุงนาง กรุงชั่ง กรุงตอ กรุงชิง สวนของปรางคือพื้นที่รายรอบถ้ำกรุงนาง(ปราง) หมู่ที่ 5 หมู่ที่6 และหมู่ที่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อธิบายเรื่องราวจากผู้เฒ่าประจำท้องถิ่น คือ นายสวัสดิ์ จันทร์ชุม 90+ปี  นางละมุล เพชรนิล 85+ปี และนางหีดฝ้าย แดงพรหม 90+ปี บอกถึงหน้าตา บุคลิก และลักษณะของแม่ปรางว่า ” หน้าตาสวยงาม รูปหน้าดั่งดวงเดือน ผิวขาว ตาไม่โต จมูกโด่งแต่รูปทรงแบน ปากเล็กๆ เกล้าผมม้วนขึ้นสูง หน้าผากล่อ(โหนก) สวมเสื้อแม่ไก่ แม่ชอบสวมเสื้อสีขาว นุ่งจงกระเบนผ้าลายดอกสีเหลือง ห่มสไบสีขาวพาดเฉียงเอียงขวาปัดไปด้านหลัง แม่ปฏิบัติธรรมและเป็นคนเก่ง มีผู้คนเคารพมาก กล่าวคือใครๆก็ขึ้นกับแม่ปราง ” […]

เส้นทาง 9 วัด : จากวัดโมคลานสู่วัดเขาขุนพนม และวัดร้างโบราณ 2 แห่ง

เส้นทาง 9 วัด : จากวัดโมคลานสู่วัดเขาขุนพนม และวัดร้างโบราณ 2 แห่ง

แผนที่ทหารสัดส่วน 1 : 50,000 ช่วง 50 ปี พื้นที่ชุมชนโมคลาน จ.นครศรีธรรมราช ………สิ่งนั้นอธิบายว่าเส้นทางจาริกแสวงบุญแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบ้านและป่าอย่างไร? ……….แผนที่ที่นำเสนอครั้งนี้คือ 9 วัดที่ปรากฏเส้นทางจากวัดโมคลานสู่วัดเขาขุนพนมที่สามารถอธิบายเส้นทางธรรมในช่วงชีวิตขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพราะวัดแต่ละแห่งคือวัดร่วมสมัย(Contemporary Historical Temple)ในช่วงสมัยของพระองค์ ……..นอกจากนี้ยังมีวัดร้างโบราณอายุ 1000+ ปี ตามหลักฐานทะเบียนวัดร้างของสำนักโบราณคดีที่14 ที่หากไปเดินสำรวจและรับฟังเรื่องราวจากผู้เฒ่าเล่าเรื่องจะเข้าใจว่าเหตุไฉนร่องรอยที่ปรากฏจึงสามารถอธิบายว่า “ทำไมจึงชื่อวัดร้างดูก ทำไมจึงชื่อวัดจันร้าง และพัฒนาการการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของบรรพชนเป็นอย่างไร?”