หนไทแบบหริภุญไชย

หนไทแบบหริภุญไชย

หนไทแบบหริภุญไชย จุดเด่นคือ การเทียบวันทางสุริยคติจากวันจันทรคติ เรียก “แม่มื้อ” หมายถึง แม่วัน รอบละ10วัน ซึ่งคำนวณจากฐานวันเกิดบรรพชนต้นตระกูลชื่อปู่เจี๋ยง ทำให้แม่เดือนเร็วกว่าแบบศรีวิชัย2เดือน ต่อมากำหนดยาม(หน่วยเวลา)เพิ่ม เรียก “ลูกมื้อ” หมายถึงลูกวัน รอบละ12วัน
.
ปู่เจี๋ยงหรือขุนเจี๋ยงเป็นลาวจกลูกชายขุนจอมธรรมเมืองภูกามยาว(พะเยา) เกิด จ.ศ.1 หรือ พ.ศ.1181 เป็นปีที่บิดาร่วมกับพระอนุรุธแห่งพม่าตั้งปฏิทิน จ.ศ.1 เป็นมหาบุรุษร่วมเอเชียอุษาคเนย์2ฝั่งโขง บรรพโบราณพร้อมใจเรียกนามว่า “ท้าวฮุ่ง” คือ เปิดโลก มหาบุรุษผู้ก่อเกิดอู่วัฒนธรรมข้ามพรมแดนหลายเผ่าพันธุ์ : จาม เมง_มอญ ลาว ขอม พม่า ที่มีคำตอบรวมบทความวิชาการมหาบุรุษสองฝั่งโขง วัฒนธรรมร่วมเอเชียอุษาคเนย์ อันเป็นประวัติศาสตร์ที่จักปกป้องเอเชียอุษาคเนย์
.
หนไทหรือปฎิทินไท กำหนดวันสำคัญชาติไทยโบราณ ผ่านชื่อเดือนแบบหริภุญไชย โดยกำหนดแม่เดือนที่1 ชื่อ เดือนเจี่ยง ว่าอัศวยุช เทิดเกียรตินักรบขุนเจี๋ยง ตรงกับพฤศจิกายนของอาณาจักรศรีวิชัยโบราณ/ประเทศไทย สำหรับเดือนที่4 ชือเดือนบุษย ตรงกับกุมภาพันธ์ คือนามพระนางจามเทวี
ชื่อเดือนอื่นๆสอดคล้องพระพุทธศาสนา/บุคคลสำคัญ ได้แก่เดือน8 ชื่อวิสาขา เดือน5 ชื่อมาฆ เดือน9 ชื่อเชษฐ ซึ่งคือเดือนพระไชยเชษฐา ฯลฯ
.
หนไท_ปฏิทินไทรูปแบบหริภุญไชยบอกเรื่องราวบรรพชน
เดือน1 = เจี๋ยง = อัศวยุช = พฤศจิกายน
เดือน2 = กัตติ = ธันวาคม
เดือน3 = มิคสิร = มกราคม
เดือน4 = จาม = บุษย = กุมภาพันธ์
เดือน5 = มาฆ = มีนาคม
เดือน6 = ผลคุณ = เมษายน
เดือน7 = จิตร = พฤษภาคม
เดือน8 = วิสาขา = มิถุนายน
เดือน9 = เชษฐ = กรกฎาคม
เดือน10 = อาสาฬห = สิงหาคม
เดือน11 = ศรวณ = กันยายน
เดือน12 = พรบท = ตุลาคม



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *