Author: admin

พระแสงขรรค์

พระแสงขรรค์

พระแสงขรรค์ตามตำราพิไชยสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประทับพระพุทธเจ้า5พระองค์ ลง5ตำแหน่ง พระแสงขรรค์ คือ ภูมิปัญญานับช่วงฝ่ามือและช่วงนิ้วมือ ของครูบาอาจารย์ผู้ประพฤติธรรมเพื่อกำไชย 1.การใช้ช่วงฝ่ามือนับ(5นิ้ว) : “นะไชยไพรนิรันดร์ สุวรรณลาภปราบทุกทิศ ฤทธิเดชเกศกษัตริย์ พลัดมารดรจรจากไกล” ให้ลงตำแหน่งฤทธิเดชฯ 2.การใช้ช่วงนิ้วมือ(คือนิ้วชี้และกลาง) : “สิบหัวปราบลาภนโม มหาสาหดคดหลาวไชย น้ำไหรปีนท่าแม่หม้ายนางนอน พังพอนขึ้นขี้วจีขุนนาง” ให้ลงตำแหน่งสิบหัวปราบฯ

ข้อมูลผักพื้นบ้าน

ข้อมูลผักพื้นบ้าน

ข้อมูลผักพื้นบ้านสามารถ Download ได้ที่นี่ ข้อมูลผักพื้นบ้าน

เครื่องถม

เครื่องถม

     เครื่องถม หรือเรียกอีกชื่อตามแหล่งกำเนิดว่า “ถมนคร” เป็นเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุเงินหรือทอง แกะลวดลายให้ตัดกับสีพื้นซึ่งเป็นน้ำยาสีดำ การทำเครื่องถมมีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่แน่ชัดว่าภูมิปัญญาดังกล่าวมีที่มาอย่างไร บ้างก็เชื่อว่ามาจากโปรตุเกส บ้างก็ว่ามาจากช่างชาวนครศรีธรรมราชที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเองจนกลายเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเครื่องถมได้กลายมาเป็นงานหัตถกรรมชั้นสูงที่นิยมใช้กันในราชสำนัก ทั้งใช้เป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชบรรณาการ

หนังตะลุง

หนังตะลุง

     หนังตะลุงเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของมนุษย์ ในอินเดียสมัยพุทธกาลพวก พราหมณ์ใช้หนังที่เรียกว่า “ฉายานาฎกะ” เล่นบูชาเทพเจ้าและเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากในประเทศแถบเอเชีย อาคเนย์ ไม่ว่าจะเป็น เขมร ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทยที่เรียกว่า “หนังตะลุง” สันนิฐานว่าเข้า มาในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เมื่อกลุ่มพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายเข้ามาเผยแผ่ศาสนา เนื่องจากพบว่า มีรูปหนังสมมุติเป็นพระอิศวรซึ่งเป็นใหญ่ในศาสนานี้รวมอยู่ด้วย หนังตะลุงเป็นศิลปะการเล่นเงา ที่มีทั้ง บทพากย์และบทเจรจา โดยแต่ละจังหวัดในภาคใต้ก็ยังมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันทั้งรูปหนังและธรรมเนียมการเล่น แต่ เดิมนิยมนำเรื่องรามเกียรติ์มาแสดงและได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรูปแบบการแสดงให้ทันยุคสมัย นิยมจัดแสดงในงาน เฉลิมฉลองต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวใต้และยังได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

เงินตรานโม

เงินตรานโม

     “นโม” เงินตราของเมืองคอน  เป็นวัตถุชิ้นเล็กๆที่สร้างขึ้นมาอย่างปราณีต สวยงาม มีความหมายอย่างครบถ้วน ทั้งมีความหมายอย่างกลมกลืน ในตัว ทั้งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องรางของขลังสามารถนำติดตัวไปใช้ คนเมืองคอนเป็นคนช่างคิด  ช่างสร้างสรรค์ ทำเงินตรา”นโม”ด้วยความมีศิลปะที่น่ายกย่องของคนเมืองคอนโบราณ สมดังคำที่ว่า”คนเมืองคอน เมืองนักปราชญ์ มาแต่โบราณ ที่ก่อเกิดวัฒนธรรม “เงินตรานโม”เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งปัจจุบันเป็นศิลปประจำชาติไทยที่ ทั่วโลกยอมรับถึงความเป็นคนอนุรักษ์ประเพณี-วัฒนธรรม คนรุ่นใหม่หรือสืบเชื้อสายโลหิตเมืองนคร ควรนับถือในเกียรติคุณประวัติของโบราณวัตถุอันนี้ของบ้านเราไว้  เงินตรานโมพอจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้ใช้ เพื่อประโยชน์สุขมาแล้ว  เรายังต้องมีน้ำใจนับถือสงวนศักดิ์ศรีต่อโบราณวัตถุนี้ของเราเสมอด้วยของมีค่าอันหนึ่ง ทั้งควรภาคภูมิใจ ที่เมืองนครของเราเคยเป็นราชธานีมาครั้งหนึ่งแล้ว  น่าที่จะรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อรุ่นสู่รุ่น ต่อรุ่นตลอดไป มิใช่หลงธรรมเนียมฝรั่งแล้วเดินตามก้นฝรั่ง ซึ่งไม่มีวัฒนธรรมของความเป็นชาติ ปัจจุบันฝรั่งบางชาติกำลังวิ่งเสาะหาความเป็นชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นมาของตนเองในอดีต ยอมแม้จะสร้างสิ่งนั้นมาอาจเป็นการลวงก็เป็นได้

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

     พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกศาสตร์ มรดกศิลป์คาบสมุทรสยาม ประดิษฐานในวัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์รวมศรัทธา ความเลื่อมใสอันบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ของพุทธศาสนิกชนบนคาบสมุทรสยามมาหลายศตวรรษ
     ผลการทดสอบอิฐ12ตัวอย่างเพื่อหาค่าอายุพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยวิธีเรืองแสงความร้อน(Thermoluminescence,TL) อายุอิฐ/ตะกอนดิน(ฐานล่างสุดขององค์พระบรมธาตุ)คือประ มาณ1,021 ค่าบวกลบ51ปี และอายุประมาณ1,119 ค่าบวกลบ67ปี

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

ดาบพระแสงขรรค์คู่เจ้าตากที่ถูกเก็บมานานกว่า๒๕๐ปี ถูกค้นพบ ณ ห้องบรรทมพระเจ้าตากฯ ถ้ำเทวตากฟ้า อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช โดย ดร.สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์ ระหว่างศึกษาประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯบนแผ่นดินนครศรีธรรมราชและพื้นที่ใกล้เคียง

เหล็กไหลเจ้าตาก

เหล็กไหลเจ้าตาก

พื้นที่ในค่ายเจ้าตาก อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช มีโรงหลอมเหล็กและตีดาบ และยังค้นพบทั่งตีดาบ แผ่นศิลารองตีดาบเรียงรายพื้นที่อาณามากกว่า 10 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อถ้ำภิกษุนักรบปานและเขาพันล้าน จ.นครศรีธรรมราช ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตีดาบศึกไทย-พม่า ประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯชื่อช่างหอม  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า นาตาหอม

อัญมณีเจ้าตาก

อัญมณีเจ้าตาก

"เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต
เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก
สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารสีหมกมัว
แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์"

สั่งซื้อสินค้า

พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

    เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม : เส้นทางกรุงชิง-พรหมคีรี เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์ พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด […]