หห

เครื่องถม

เครื่องถม

     เครื่องถม หรือเรียกอีกชื่อตามแหล่งกำเนิดว่า “ถมนคร” เป็นเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุเงินหรือทอง แกะลวดลายให้ตัดกับสีพื้นซึ่งเป็นน้ำยาสีดำ การทำเครื่องถมมีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่แน่ชัดว่าภูมิปัญญาดังกล่าวมีที่มาอย่างไร บ้างก็เชื่อว่ามาจากโปรตุเกส บ้างก็ว่ามาจากช่างชาวนครศรีธรรมราชที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเองจนกลายเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเครื่องถมได้กลายมาเป็นงานหัตถกรรมชั้นสูงที่นิยมใช้กันในราชสำนัก ทั้งใช้เป็นเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชบรรณาการ

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี จังหวัดพัทลุง เป็นหนึ่งในตัวอย่างของความศรัทธาในศาสนาพุทธของชาวพัทลุง เจดีย์วัดเขาสร้างขึ้นบนยอดเขา ใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาตินำมาสร้างเป็นส่วนฐานของเจดีย์ นับว่าเจดีย์วัดเขาเป็นสถานที่เก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นนับถือ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นหลักฐานที่สำคัญทางด้านการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เส้นทางลำนำชีวิต 7 เจดีย์

เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบทรงระฆังคว่ำ มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อเล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุ ประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวาย แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตน ได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่าม อย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและ ศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพร

เหล็กไหลเจ้าตาก

เหล็กไหลเจ้าตาก

พื้นที่ในค่ายเจ้าตาก อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช มีโรงหลอมเหล็กและตีดาบ และยังค้นพบทั่งตีดาบ แผ่นศิลารองตีดาบเรียงรายพื้นที่อาณามากกว่า 10 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อถ้ำภิกษุนักรบปานและเขาพันล้าน จ.นครศรีธรรมราช ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตีดาบศึกไทย-พม่า ประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯชื่อช่างหอม  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า นาตาหอม

แหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาแห่งโมคลาน

แหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาแห่งโมคลาน

เครื่องปั้นดินเผา ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาโมคลานเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าห่างจากโบราณสถานโมคลานมาทางทิศเหนือราว 100 เมตร ในอดีตกาลประมาณการว่ามีพื้นที่กว่า 100 ไร่ที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองของภูมิภาคนี้ ก่อนที่เครื่องเคลือบจากประเทศจีน และเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัยจะเข้ามาครองตลาด สิ่งมหัศจรรย์ใจคือ ช่วงเดินลัดเลาะเส้นทางวัดร้างจันทร์ วัดร้างดูก วัดโมคลาน ตลอดจนถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้เต็มไปด้วยเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถมด้วยเศษภาชนะดินเผา ช่วงเดินเลียบสายน้ำแห่งคลองมะยิงจะเห็นเศษภาชนะดินเผาผุดให้เห็นอยู่เนืองๆจนชุมชนแห่งนี้ขนานปรากฏการณ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สายน้ำแห่งคลองมะยิง” ชาวบ้านหาวิธีคลายความสงสัยจึงพากันขุดเนินดินทราบว่าคือเตาเผาแบบดั้งเดิม(Primitive)แบบหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นต้นแบบของเตาเผาแบบระบายความร้อนขึ้น(Updraught Kilns)  ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษในการใช้ดินจอมปลวกมาก่อเตาเผารักษาความคงทนและเก็บอุณหภูมิอย่างคงที่และยืดเวลาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า เตาหลุม(Pit or Cave Kilns) จากการขุดค้นพบว่ามีเศษภาชนะดินเผาที่ทับถมอยู่ชั้นลึกมาก และพบภาชนะดินเผารุ่นเก่าเนื้อแกร่งมีลวดลายแปลกๆจำนวนมากซึ่งไม่มีให้พบเห็นในปัจจุบัน เช่น ลายขูดร่องแถวนอกประสมด้วยลายจุดประ ลายประทับเป็นรูปตัว S  ลายประทับรูปต้นไม้ที่มีหัวยอดคล้ายหัวลูกศร เป็นต้น ในอดีตใช้ดินจาก “ทุ่งน้ำเค็ม” ใช้ไม้ไผ่ฉากสับเป็นชิ้น ใช้แกลบข้าวหรือพืชผักเป็นเชื้อในการเผาให้ได้ออกซิเจนสันดาป(Oxidation) ใช้แป้นหมุนซึ่งที่นี่เรียกว่า “มอน” แบบชิ้นเดียวและ 2 ชิ้น มีน้ำประสานซึ่งที่นี่เรียกว่า “น้ำเขลอะ” ชุบผ้าลูบไปตามผิวภาชนะตามรูปทรง […]

ถ้ำกรุงนาง(ปราง)

ถ้ำกรุงนาง(ปราง)

เส้นทางประวัติศาสตร์พระเจ้าตากสินมหาราช : กรุงชิง-เขาขุนพนม สิ่งที่ควรจดจำคือ ถ้ำกรุงนาง(ปราง) ซึ่งหมายถึงสนมเอกที่เป็นคู่สุขคู่ทุกข์ของพระองค์ ณ สวนของปราง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านสวนปรางเก่า-ใหม่ หมู่ที่5-6-7 ตั้งอยู่บริเวณรายรอบถ้ำ  ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช   พระนิวัฒน์ขนฺติรตโร เจ้าอาวาสวัดกรุงนาง(ปราง) บวช 20 พรรษา เล่าว่า ” ถ้ำกรุงนาง(ปราง) มิใช่มีเพียงท่านแต่ยังมีบุคคลอื่นอีกมากที่เห็นสตรีที่สวยงามราว 50 (ดวงวิญญาณ) มานั่งสมาธิในถ้ำแห่งนี้”

มหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

มหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

สนมเอกปราง : คู่ทุกข์คู่ยากขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในยามออกรบในพื้นที่ครอบคลุมกรุงชิง กรุงตอ กรุงชั่ง กรุงนางและกรุงตาก พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี : โบราณกล่าวว่า “เข้าถ้ำกรุงนาง(ปราง) เหมือนเดินบนรางรถไฟ”…….ดูแผนที่เอาเถิด! คือ 1)มีชุมทาง 2)มีสถานีเข้า-ออก 3)สถานีขึ้น-ลงเป็นจุดๆ ดั่งให้แวะพัก(วิปัสสนา/กรรมฐาน/สนทนาธรรม) 4)ยามรบ สามารถใช้เป็นค่ายกล มีจุดวกกลับหลอกศัตรู จุดอำพราง หากจำเป็นต้องหลบหนีให้ไปช่องสลับตา รวมถึงช่องทางออกที่แสงลอดเข้ามามากๆหากหลงมาช่องเส้นทางนี้จะงงเพราะชันปีนไม่ได้ และทางที่เหมือนลอดได้แต่ติดหินย้อยราวกับปลาติดไซ ……..นี่คือความมหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

    เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม : เส้นทางกรุงชิง-พรหมคีรี เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์ พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด […]

พื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ

พื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ

บริเวณคลองมะยิง : ชมบัวแดง เลือกทริปเส้นทางอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ           หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองมะยิง            ตลาดวัดโหนดเก่า           ตำนานช้าง           ตำนานตวนกู           พิพิธภัณฑ์สายน้ำมะยิง           สะพานโหนด           แนวชั้นหม้อดินเผาโบราณ (รอยต่อคลองโมคลานกับคลองมะยิง) เลือกทริปประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมสมัย ตำนานพระเจ้ากรุงชิง/แท่นตรวจงานพระเจ้ากรุงชิง สุสานปาลีเมาะเจ๊เต๊ะ ฮัจยีห์สุโหรงในนครศรีฯ ตำนานชี : สถานธรรมแม่ชีโมคลานสู่ตำนานแม่ชีนมเหล็ก ตำนานพ่อท่านสิงห์ ตำนานเณรแก้ว ตำนานหลวงปู่กลิ่น แท่นส่งบรรพชนโบราณ(แท่นเผาร่างโบราณ) กลองมโหระทึก เรือตะเคียนทอง ตลาดวัดโหนดเก่า ตำนานเรือสำเภาล่ม เลือกทริปขึ้นรูปดินด้วยมอน เลือกทริปฉลุลาย เลือกทริปร้อยลูกปัดแห่งโมคลาน เลือกทริปเพ้นท์สีอะคริลิคบนดินเผา เลือกทริปเลื้อยเล่นเส้นดินสู่ชิ้นงาน เลือกทริปเทคนิคการเผาด้วยเตาเผาแบบโบราณ เลือกทริปลอยกระทงดินดิบแบบประเพณีโบราณ ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อจากบรรพชนนับตั้งแต่อดีตกาล จากคติความเชื่อนานัปการ อาทิ เชื่อว่าเป็นการขอขมาแม่พระคงคา […]

พื้นที่ทวารเมืองโบราณปากพยิงเก่าสู่พยิงใหม่ 

พื้นที่ทวารเมืองโบราณปากพยิงเก่าสู่พยิงใหม่ 

          ปากพยิง คือพื้นที่บริเวณอาณาที่มีการเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแพ คลองพยิงเก่า และคลองพยิงใหม่  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลาและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้วยอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยดังนั้นอากาศจึงเย็นสบาย ประกอบกับสภาพที่ตัั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ด้านหนึ่งมีเทือกเขานครศรีธรรมราช และอีก 2 ด้านประกบ คือ ทะเลจีนใต้(ทางตะวันออก) และทะเลอันดามัน(ทางตะวันตก) ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนสลับกันตลอดทั้งปีประกอบกับอาณาพื้นที่ปากพยิง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช หมุดตั้งของพื้นที่วิถีโค้งของอ่าวทองคำ(อ่าวท่าศาลา)จึงคงความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีทำให้โครงสร้างป่าชายเลนยังสามารถคงความสมบูรณ์นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พันธุ์ไม้ที่พบ อาทิ โกงกาง แสมขาว ลำแพน ลำพู  ฯลฯ สัตว์ที่พบ อาทิ กุ้งขาว ปูแสม หอยเจดีย์ ฯลฯ ตลอดจนถึงนกบริเวณป่าชายเลน อาทิ นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปีย นกกาน้ำ นกจาระกอ นกแอ่นทะเล(นกตามเรือ)กาเหว่า นกเขา  นกแสก นกยางขาว เหยี่ยว นกกระสา นกกวัก นกอีลุมนกเป็ดน้ำ ฯลฯ            ระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนหากดำรงคู่กับวิถีท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าจะเป็นการอนุรักษ์ […]