พื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ
พื้นที่ใจกลางเมืองโมคลาน
บริเวณคลองมะยิง : ชมบัวแดง
เลือกทริปเส้นทางอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ
หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองมะยิง
ตลาดวัดโหนดเก่า
ตำนานช้าง
ตำนานตวนกู
พิพิธภัณฑ์สายน้ำมะยิง
สะพานโหนด
แนวชั้นหม้อดินเผาโบราณ (รอยต่อคลองโมคลานกับคลองมะยิง)
เลือกทริปประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมสมัย
- ตำนานพระเจ้ากรุงชิง/แท่นตรวจงานพระเจ้ากรุงชิง
- สุสานปาลีเมาะเจ๊เต๊ะ
- ฮัจยีห์สุโหรงในนครศรีฯ
- ตำนานชี : สถานธรรมแม่ชีโมคลานสู่ตำนานแม่ชีนมเหล็ก
- ตำนานพ่อท่านสิงห์
- ตำนานเณรแก้ว
- ตำนานหลวงปู่กลิ่น
- แท่นส่งบรรพชนโบราณ(แท่นเผาร่างโบราณ)
- กลองมโหระทึก
- เรือตะเคียนทอง
- ตลาดวัดโหนดเก่า
- ตำนานเรือสำเภาล่ม
เลือกทริปเพ้นท์สีอะคริลิคบนดินเผา
เลือกทริปเลื้อยเล่นเส้นดินสู่ชิ้นงาน
เลือกทริปเทคนิคการเผาด้วยเตาเผาแบบโบราณ
เลือกทริปลอยกระทงดินดิบแบบประเพณีโบราณ
ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อจากบรรพชนนับตั้งแต่อดีตกาล จากคติความเชื่อนานัปการ อาทิ เชื่อว่าเป็นการขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็น ประเพณีลอยกระทง นี้มิได้มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น กล่าวคือในประเทศจีน ลาว อินเดีย เขมร และพม่า ต่างก็มีพิธีลอยกระทงเช่นกัน อาจจะแตกต่างกันเรื่องรายละเอียด พิธีกรรม และความเชื่อของแต่ละแห่ง
พื้นที่ชุมชนโมคลาน คือพื้นที่เมืองเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่มีอารยธรรมพราหมณ์เก่าแก่ที่สุดตามปรากฎหลักฐานประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ซึ่งพิธีกรรมบูชาองค์ศิวลึงค์โดยใช้น้ำจากสายน้ำแห่งคลองโมคลาน(คลองโต๊ะเน็ง/คลองควาย) และจากสายน้ำแห่งคลองมะยิง ทั้งนี้ 2 สายน้ำนี้ได้โอบบริเวณพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้ บรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำปากพยิงไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนั้นข้อสันนิษฐานถึงการบูชาเทพเจ้า การขอขมาแม่พระคงคาตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ผ่านประเพณีลอยกระทงของลูกหลานบูรณาการกับการเป็นแผ่นดินอุตสาหกรรมดินเผามาอย่างยาวนาน ผู้เฒ่าเล่าว่ายามโบราณนั้นเคยมีประเพณีลอยกระทงดินดิบ ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีลอยกระทงของบรรพชน และมีการรักษาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อดีตกาลซึ่งใช้กระทงดินดิบที่มีคุณสมบัติลอยน้ำนานเป็นเวลาหลายวันในประเพณีลอยกระทงรำลึกถึงบรรพชนแห่งโมคลานสืบไป
เลือกทริปเดินชมพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณเลียบคลองมะยิง
เลือกทริปแรงบันดาลใจพิเศษ : ขึ้นรูปด้วยมอนจากยายมวล
ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาโมคลานเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าห่างจากโบราณสถานโมคลานมาทางทิศเหนือราว 100 เมตร ในอดีตกาลประมาณการว่ามีพื้นที่กว่า 100 ไร่ที่เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมืองของภูมิภาคนี้ ก่อนที่เครื่องเคลือบจากประเทศจีน และเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัยจะเข้ามาครองตลาด
สิ่งมหัศจรรย์ใจคือ ช่วงเดินลัดเลาะเส้นทางวัดร้างจันทร์ วัดร้างดูก วัดโมคลาน ตลอดจนถึงบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้เต็มไปด้วยเนินดินขนาดใหญ่ที่ทับถมด้วยเศษภาชนะดินเผา ช่วงเดินเลียบสายน้ำแห่งคลองมะยิงจะเห็นเศษภาชนะดินเผาผุดให้เห็นอยู่เนืองๆจนชุมชนแห่งนี้ขนานปรากฏการณ์นี้ว่า “พิพิธภัณฑ์สายน้ำแห่งคลองมะยิง”
ชาวบ้านหาวิธีคลายความสงสัยจึงพากันขุดเนินดินทราบว่าคือเตาเผาแบบดั้งเดิม(Primitive)แบบหนึ่งของโลก ซึ่งเป็นต้นแบบของเตาเผาแบบระบายความร้อนขึ้น(Updraught Kilns) ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษในการใช้ดินจอมปลวกมาก่อเตาเผารักษาความคงทนและเก็บอุณหภูมิอย่างคงที่และยืดเวลาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า เตาหลุม(Pit or Cave Kilns)
จากการขุดค้นพบว่ามีเศษภาชนะดินเผาที่ทับถมอยู่ชั้นลึกมาก และพบภาชนะดินเผารุ่นเก่าเนื้อแกร่งมีลวดลายแปลกๆจำนวนมากซึ่งไม่มีให้พบเห็นในปัจจุบัน เช่น ลายขูดร่องแถวนอกประสมด้วยลายจุดประ ลายประทับเป็นรูปตัว S ลายประทับรูปต้นไม้ที่มีหัวยอดคล้ายหัวลูกศร เป็นต้น
ในอดีตใช้ดินจาก “ทุ่งน้ำเค็ม” ใช้ไม้ไผ่ฉากสับเป็นชิ้น ใช้แกลบข้าวหรือพืชผักเป็นเชื้อในการเผาให้ได้ออกซิเจนสันดาป(Oxidation) ใช้แป้นหมุนซึ่งที่นี่เรียกว่า “มอน” แบบชิ้นเดียวและ 2 ชิ้น มีน้ำประสานซึ่งที่นี่เรียกว่า “น้ำเขลอะ” ชุบผ้าลูบไปตามผิวภาชนะตามรูปทรง ตกแต่งผิวภายในด้วย “ลูกเถอ” ขัดมันด้วย “สะบ้า” และตกแต่งภายนอกแบบตีให้เป็นลาย หรือกดลาย ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการฉลุลาย การลงน้ำสีในเนื้อดิน การเพ้นท์สี ตลอดจนถึงการประยุกต์ต่างๆ
ความภาคภูมิใจต่อเครื่องปั้นดินเผาโบราณบนผืนดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ตลอดจนถึงการรักษากรรมวิธีในการผลิตตราบจนทุกวันนี้
อนุชนรุ่นหลังราว 5 หลังคาเรือน คณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนโมคลานประชาสรรค์ ตลอดจนถึงองค์กรต่างๆในชุมชนท้องถิ่นพร้อมใจกันสืบสานหัตถศิลป์เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ชุมชนโมคลาน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ให้อยู่เคียงคู่กับชุมชนตลอดไป
ศูนย์นวัตกรรมชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองเครื่องปั้นดินเผาชุมชนโมคลาน บ้านมะยิง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดบริการฝึกขึ้นรูปดินด้วยมอน (แป้นหมุน)กับยายมวล ผู้สูงอายุพิการตาบอดแต่ยังคงยืนหยัดสู้ชีวิต ซึ่งสามารถเรียกแรงบันดาลใจให้กับทุกท่านที่มาเยือน
เลือกทริปเล่นน้ำคลองมะยิง
ว่ายน้ำคลองกับลูกหลานโมคลาน
เก็บภาพสะพานปูน-ไม้ ข้ามคลองมะยิง
เล่นงมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ
หิ่งห้อยยามราตรี
บริเวณคลองโมคลาน : ชมบัวขาว
เลือกทริปล่องเรือคลองโมคลาน
เล่าเรื่องพัฒนาการจากคลองโมคลาน สู่คลองควายและคลองโต๊เน็งในปัจจุบัน : ท่าน้ำ 2 ฝั่งโบราณ
หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองโมคลาน : หาดทรายกลางคลอง
ชมแนวชั้นหม้อดินเผาโบราณ (รอยต่อคลองโมคลานกับคลองมะยิง)
ชมสวนสมุนไพรอัตลักษณ์ชุมชน : ดงเหงือกปลาหมอ กกเล กกนา ฯลฯ
เล่าเรื่องโรงตีอิฐ
เล่าเรื่องวังจระเข้
สะพานลิง
แนวตลิ่งทราย
เขตบ่อดิน
ต้นคุระกับการกระโจนน้ำในวัยเด็ก
เลือกทริปเล่าเรื่องวิถีพราหมณ์แห่งโมคลาน ........ ภาพเชื่อมโยงวิถีพุทธ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
เลือกทริปเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีมุสลิมแห่งโมคลาน
ลิเกฮูลู และลิเกนาชีท หรือเรียกกันว่าลำตัดมลายู เป็นศิลปะการร้องประกอบดนตรีของคนพื้นเมืองวิถีมุสลิม รากกำเนิดคือได้รับอิทธิพลมาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซียที่เดินทางเรือเข้ามาค้าขายและได้นำวิถีแห่งมุสลิมเข้ามาเผยแพร่ ตามปกติเป็นบทขับร้องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น งานเมาลิด บทสวดนี้ชาวเปอร์เซียเรียกว่า “ดีเกร์เมาลิด” (มาจากคำซีเกร์ Zikir ในภาษาอาหรับ) เป็นการขับร้องที่มีสำเนียงไพเราะน่าฟังมากเรียกกันว่า “ละไป” หรือ “ซีเกร์มัรฮาบา” เป็นการร้องเพลงประกอบการตีกลองรำมะนา และนำมาดัดแปลงพร้อมแต่งเนื้อคำร้องเป็นภาษาพื้นเมืองให้ไพเราะ ฟังเข้าใจและสนุกสนาน โดยมีการพัฒนาขับร้องในที่สาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในการแสดงมีการแยกออกเป็น 2 ฝ่าย ร้องโต้ตอบแก้กันไปมา ใช้คารมเสียดสี ปฏิภาณไหวพริบโต้กัน หรือพูดเรื่องตลกโปกฮาหรือประยุกต์ให้เข้าเรื่องกับงานแสดงในโอกาสต่างๆ จังหวะดนตรีมีทั้งช้าและเร็ว โดยปกติมี 3 จังหวะ คือ สโลว์ แมมโบร์สโลว์ และจังหวะนาฏศิลป์อินเดีย
สำหรับพื้นที่ชุมชนโมคลาน เมืองเก่าในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งวัฒนธรรมพราหมณ์ วัฒนธรรมพุทธ วัฒนธรรมมุสลิม และอื่นๆ ที่สำคัญคือชุมชนโมคลานนับเป็นพื้นที่ที่มีอาณาบริเวณวัฒนธรรมมุสลิมหนาแน่นที่สุด ดังนั้นกิจกรรมการละเล่น ศิลปะดนตรีและสันทนาการต่างๆของวิถีมุสลิมอันงดงามที่หาดูที่อื่นได้ยากยิ่งจึงปรากฏในดินแดนแห่งนี้ อาทิ รองเง็ง ลิเกฮูลู ลิเกนาชีท
ลิเกฮูลู คือศิลปะการร้องประกอบดนตรีในท่านั่งที่โยกย้ายอย่างรื่นเริงมีสุข สำหรับลิเกนาชีทคือศิลปะการร้องประกอบดนตรีในท่ายืนโยกย้ายอย่างบันเทิงเริงใจ โดยไม่ออกท่าเต้น
เนื่องจากชุมชนโมคลานมีกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและยากไร้ จึงร่วมกันริเริ่มกิจกรรมเพื่อหารายได้ใช้เป็นทุนทางการศึกษาและเลี้ยงชีพ
แต่งกาย : ชุดสุภาพตามวิถีมุสลิมทั่วไป คือ ชุดยาวที่มิดชิด
เครื่องดนตรี : จากเครื่องบันทึกเทปที่มีเสียงกลองรำมะนาสอดแทรกอย่างจับใจ
สำเนียงเสียงร้อง : ใช้ภาษามลายูแห่งดินแดนโมคลานที่มีมนตร์ขลังอย่างที่สุด ความงดงามเหล่านี้ไม่สามารถไปสัมผัสได้จากที่ใด เพราะภาษามลายูโมคลานนั้นแตกต่างจากมลายูกลาง……..ภาษามลายูแห่งโมคลานมีความหลากหลายอย่างยิ่ง กล่าวคือแม้นต่างหมู่บ้านกันสำเนียงก็แตกต่างกัน นี่คือเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่ชุมชนโมคลานภาคภูมิใจ และมีการเชิญชวนให้ร่วมกันอนุรักษ์ภาษามลายูพื้นถิ่นแห่งโมคลานตราบนานเท่านาน……..และเป็นอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่าอารยธรรมการย้ายถิ่นของบรรพบุรุษวิถีมุสลิมนับแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันน่าจะมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายแบบมุมเดียว
บริเวณคลองบางมวง : ชมบัวม่วง
โปรดติดตามทริปใหม่เร็วๆนี้ : ล่องเรือบนสายน้ำแห่งคลองบางมวง
หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองบางมวง
เลขายข้าว
ตำนานบวชนาคศาลาน้ำ
ล่องเรือเร็ว
ซุ้มประตูเมืองบนถนน
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : วาดภาพสีน้ำ
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : การปั้นรูปหน้าคนและต่างๆ
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : รองเง็ง
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : มโนราห์
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : หนังตะลุง
เตรียมพบกับทริปใหม่เร็วๆนี้ : เพลงบอก