พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

 

 

เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม : เส้นทางกรุงชิง-พรหมคีรี

เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์

พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด – กรุงชิง

ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นอดีตพื้นที่แห่งความทรงจำระหว่างพระองค์ผู้กอบกู้ชาติไทยและลูกหลานบนผืนดินแห่งนี้และทั่วแผ่นดินไทย

ลูกหลานนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีได้ดำรงรักษาพื้นที่สานต่อบรรพชนให้คงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นธรรมชาติอันงดงาม :

สวรรค์แห่งทะเลหมอก สวรรค์แห่งพุทธศาสนิกชนตักบาตรในพื้นที่เดียวกันเป็นประจำทุกวัน บายศรีสู่ขวัญน้ำ ฯลฯ

อื่นๆ

1)ระยะทางจาก ต.วังไทร จ.สุราษฎร์ธานี มาต.ชุมโลง หรือ ต.กรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช เพียง 60-70 กม
2)พบดาบโบราณที่วังไทร  มีผู้ประสานงานขอร่วมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
3)บ้านควนราชา ต.ช้างซ้าย – ต.ช้างขวา จ.สุราษฎร์ธานี อธิบายยุทธศาสตร์การรบแผ่กว้างครอบคลุมฐานทัพมาถึง ต.ช้างกลาง จ. นครศรีธรรมราช
4)ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา และ ต.นาสาร อ.เมืองนครศรีธรรมราช คือแหล่งปฏิบัติธรรมทหารพระเจ้าตากสินซึ่งชื่อพ้องกับ ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และ ต.นาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
และอื่นๆ ……..โปรดติดตามเส้นทางกรุงชิง – พรหมคีรี / เส้นทางโมคลาน – พรหมคีรี /เส้นทางปากพญา – เมืองคอน / เส้นทางปากกลาย – กรุงชิง / เส้นทางพรหมคีรี – เมืองคอน

เลือกทริปแม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปราง : หน้าตา บุคลิก และลักษณะ

แม่ปรางคือสนมเอกในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงตั้งฐานทัพและรบพม่าบริเวณกรุงตาก กรุงนาง กรุงชั่ง กรุงตอ กรุงชิง สวนของปรางคือพื้นที่รายรอบถ้ำกรุงนาง(ปราง) หมู่ที่ 5 หมู่ที่6 และหมู่ที่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

สวนแม่ปราง : แผนที่สวนและการตั้งถิ่นฐาน

แผนที่ยามอดีต : ประชากรหนาแน่นบริเวณใกล้ๆถ้ำ(ปัจจุบัน คือ หมู่5) มีลำธาร วัด สวนผักผลไม้ ประกอบด้วย ต้นมะปราง ลางสาด ทุเรียนพื้นบ้าน เงาะพื้นบ้าน  มังคุด ผักสวนครัวและสมุนไพรต่างๆ  ทั้งนี้ประชากรและสวนผักผลไม้ ได้กระจายบางตาออกไปบริเวณรอบๆ

แผนที่ปัจจุบัน :  ประชากรกระจายตัวอยู่ห่างไกลจากถ้ำ สภาพเปลี่ยนแปลงไปจากยามอดีต คือ พื้นที่บริเวณใกล้ๆถ้ำกลับมีประชากรบางตาและเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราค่อนข้างเต็มพื้นที่ สิ่งที่น่าประทับใจ คือ พบต้นทุเรียนพันธ์ุพื้นบ้าน/ลางสาดโบราณอายุ 100+ ปี ปรากฏในพื้นที่บริเวณห่างไกลออกมาจากถ้ำ (ปัจจุบัน คือ หมู่6 หมู่7)

การจัดทำแผนที่ต้นปรางในปี 2560 ยังคงมีมากกว่า 50 ต้น และแผนที่ต้นไม้พันธ์ุพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลือบริเวณสวนแม่ปรางที่ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน

ความอร่อยของมะปรางดิบคือรสชาติเปรี้ยว เหมาะกับเมนูแกงส้ม/ยำ มีให้รับประทานแบบลูกดิบ ช่วง ก.ค.-ส.ค. หากรับประทานแบบลูกสุกรสชาติหวานในช่วงปลาย ส.ค. อย่างไรก็ตามในช่วง ก.ย./ต.ค./พ.ย. ยังพอจะไปหาลูกปรางนอกฤดูกาลมาให้รับประทานกัน

 

ถ้ำกรุงนาง(ปราง)

เส้นทางประวัติศาสตร์พระเจ้าตากสินมหาราช : กรุงชิง-เขาขุนพนม สิ่งที่ควรจดจำคือ ถ้ำกรุงนาง(ปราง) ซึ่งหมายถึงสนมเอกที่เป็นคู่สุขคู่ทุกข์ของพระองค์ ณ สวนของปราง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านสวนปรางเก่า-ใหม่ หมู่ที่5-6-7 ตั้งอยู่บริเวณรายรอบถ้ำ  ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

มหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

สนมเอกปราง : คู่ทุกข์คู่ยากขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในยามออกรบในพื้นที่ครอบคลุมกรุงชิง กรุงตอ กรุงชั่ง กรุงนางและกรุงตาก พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี : โบราณกล่าวว่า “เข้าถ้ำกรุงนาง(ปราง) เหมือนเดินบนรางรถไฟ”…….ดูแผนที่เอาเถิด! คือ 1)มีชุมทาง 2)มีสถานีเข้า-ออก 3)สถานีขึ้น-ลงเป็นจุดๆ ดั่งให้แวะพัก(วิปัสสนา/กรรมฐาน/สนทนาธรรม) 4)ยามรบ สามารถใช้เป็นค่ายกล มีจุดวกกลับหลอกศัตรู จุดอำพราง หากจำเป็นต้องหลบหนีให้ไปช่องสลับตา รวมถึงช่องทางออกที่แสงลอดเข้ามามากๆหากหลงมาช่องเส้นทางนี้จะงงเพราะชันปีนไม่ได้ และทางที่เหมือนลอดได้แต่ติดหินย้อยราวกับปลาติดไซ ……..นี่คือความมหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

โปรดติดตามทริปใหม่เร็วๆนี้ : สืบสานตำนานงานบุญประเพณี
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากปากพยิงสู่เขาขุนพนม
          กิจกรรมกราบพระ 9 วัด จากปากพยิงสู่เขาขุนพนม
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่เขาขุนพนม
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่เมืองนครศรีธรรมราช
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่กรุงตาก
          บูชาพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดเขาขุนพนม
          เส้นทางพระนางตรา พระนางท่าเรือ

โปรดติดตามทริปใหม่เร็วๆนี้ : สืบสานตำนานงานบุญประเพณี 
         
ลอยน้ำบายศรีสู่ขวัญกรุงชิง



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *