อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

ชุมชนโบราณโมคลานเป็นชุมชนใหญ่ปรากฎในแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายเลข 49361 ระวาง L708 (อำเภอท่าศาลา) พิกัด 25485 ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าซึ่งเกิดขึ้นในยุคโฮโลซีน(Holocene) อายุประมาณ 5,000-8,000 ปีมาแล้ว วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกับชายฝั่งอ่าวไทย สันทรายนี้อายุมากกว่าสันทรายที่เป็นที่ตั้งของตัวเมืองนครศรีธรรมราชที่เหยียดทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ตั้งแต่อำเภอสิชลจนถึงอำเภอเชียรหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างสันทรายเก่าแและใหม่นี้มีระยะห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร จากการเป็นสันทรายเก่าแก่จึงสันนิษฐานว่าชุมชนโมคลานเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนสันทรายที่เกิดมาตามหลัง ซึ่งสอดคล้องกับลำนำชีวิตแบบย้อนยุคชุมชนโมคลานตามปรากฏหลักฐานโบราณคดีพุทธศตวรรษที่6 พุทธศตวรรษที่12-14 ที่ส่งต่อมาสู่ลูกหลานว่า “ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพยัง ข้างหลังโพธิ์มี  7เจดีย์ 9ทวาร 4เลนจัตตุบาท” และลำนำชีวิตแบบร่วมสมัยชุมชนโมคลานในช่วง 100-150 ปีที่ผ่านมาว่า “เรือสำเภาใหญ่………”

กล่าวคือทิศตะว้นออกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 3 กิโลเมตร คือสันทรายที่เกิดขึ้นมาช่วงหลังและอ่าวไทย ทิศตะวันตกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 10 กิโลเมตรคือเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาหลวง ซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ขนานกับสันทราย เทือกเขาเหล่านี้เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำจากน้ำตกพรหมโลก และน้ำตกกรุงชิงตามลำดับ ระหว่างสันทรายกับเทือกเขานับเป็นพื้นที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์เพราะเกิดจากอิทะิพลของตะกอนลำน้ำจึงเหมาะแก่การทำนา อย่างไรก็ตามพื้นที่บางบริเวณยังมีลักษณะเป็นร่องรอยป่าชายเลนเดิม(จากการขุดดินของชาวบ้านในปัจจุบันพบซากหอย ซากน้ำเลนเก่าที่มีร่องรอยไม้ป่าชายเลนหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน) ความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้มีการปลูกพืชผักผลไม้ โดยเฉพาะมะพร้าว

การสำรวจโบราณสถานชุมชนโมคลาน รวมทั้งวัดร้างในพื้นที่บริเวณนี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2478 ขณะนั้นบริเวณนี้เป้นป่าทึบที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่หลายชนิด อาทิ ยาง สะท้อน จันทน์ และขี้เหล็ก โดยยังไม่มีถนนตัดผ่านบริเวณนี้ ผลสำรวจครั้งนี้มีสักขีพยานคือนายกูเรอ กูเปีย(กำนัน) และชาวไทยมุสลิมอีก 5 คน พบโบราณวัตถุโบราณสถาน  คือ หลักหิน สระสองพี่น้อง ซากเจดีย์ ซากเทวสถาน โยนิ พระพุทะรูปปูนปั้นจำนวน 1 องค์และชิ้นส่วนพระพุทธรูปจำนวนมากบริเวณเนินโบารณสถานและใต้ต้นจันทน์ เศษภาชนะดินเผา และโบราณวัตถุอื่นๆกกระจัดกระจายบนเนินโบราณสถาน

ในปี พ.ศ. 2480 ได้เริ่มีพระสงฆ์จากวัดต่างๆมาจำพรรษา จึงเริ่มมีการสร้างกุฏิ พร้อมทั้งสร้างโรงเรียนประชาบาลวัดโมคลาน

ในปี พ.ศ. 2483-2484 ประชาชนเข้ามาจับจองสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก ทำให้อาณาเขตวัดเหลือน้อยลง โดยเฉพาะโรงเลื่อยเอกชนได้เข้ามาโค่นต้นไม้ใหญ่ี่เคยเป็นป่าทึบไปจนเกือบหมดสิ้น ทำให้พระสงฆ์และชาวบ้านปลูกมะพร้าวทดแทน และอาณาเขตที่เคยไปถึงสระสองพี่น้องเหลือเพียงไปจรดแนวถนนสี่แยกวัดโหนด-พรหมคีรี

ในปี พ.ศ. 2511 ศาสตราจารย์ลูฟส์(H.H.E.Loofs) ได้เข้ามาสำรวจโดยแสดงทรรศนะว่า “โมคลาน” น่าจะมาจากคำว่า “โมคฺฆลาราม หรือ โมกฺขผตาราม” สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดคือ แนวหลักหินที่อยู่ใกล้ๆกับเนินโบราณสถาน ซึ่งท่านเห็นว่าแนวหินหลักนี้น่าจะเป้นหินตั้ง(Alignment) ในวัฒนธรรมหินใหญ่ (Megalithic Culture) ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกในการส่งต่อมาเพื่อทำการศึกษาต่อไป ทั้งนี้ได้มีความพยายามนำเสนอให้เกิดการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อความกระจ่างเกี่ยวกับชุมชน แต่อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่การแยกย้ายโบราณวัตถุไปเก็บที่พิพิธภัณฑ์พระนคร และพิพิธฑภัณฑ์นครศรีธรรมราช(พึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2516) และการบูรณโบราณสถานวัดโมคลานเสร็จสิ้นราวปี พ.ศ. 2535 จนถึงบัดนี้ยังไม่มีการสำรวจขุดค้นอีกใดๆ

ในปี พ.ศ. 2560 ดร.สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์ ได้บูรณาการมิติเนื้อหา มิติพื้นที่ และมิติหน่วยงานพื้นที่ชุมชนโมคลานเพื่อทำการสังเคราะห์ เรียบเรียงคุณค่า ความหมาย ชีวิตชีวา การดึงดูดความสนใจ กระตุ้นจินตนาการตามแนวทางปัญญาแห่งมวลชน เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตลอดเส้นทางชุมชนโมคลานอันจะทำให้เกิดการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม  ความรักและสำนึกในท้องถิ่น เริ่มจากภายในตน ครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

เลือกทริปเล่าเรื่องวิถีพราหมณ์แห่งโมคลาน …….. ภาพเชื่อมโยงวิถีพุทธ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

 

เลือกทริปเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีมุสลิมแห่งโมคลาน

 

เลือกทริปประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมสมัย

 

 

 

 

 

 



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *