Author: kan kansumas

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดพัทลุง (ข้าวสังข์หยด)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดพัทลุง (ข้าวสังข์หยด)

ประวัติความเป็นมา      ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นข้าวสังข์ที่ปลูกเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยด และส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่นด้วย รวมถึงยังสามารถกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชน     ข้าวสังข์หยดเป็นพันธุข้าวพื้นเมือง เป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นมีแหล่งปลูกดั้งเดิม อยู่ในจังหวัดพัทลุง ปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปี มีลักษณะพิเศษ คือ ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง พันธุ์ข้าวสังข์หยดถูกเก็บรักษาไว้โดยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวเมือง พัทลุง ตลอดระยะเวลายาวนาน จากหลักฐานการรวบรวมพันธุ์ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามโครงการบำรุงพันธ์ข้าว เมื่อ พ.ศ. 2493 โดยกองบำรุงรักษาพันธุ์ กรมการค้าข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่า ชื่อข้าวสังข์หยดเป็น 1 ใน 11 ตัวอย่างพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ที่เก็บรวบรวมจากอำเภอเมืองพัทลุง

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช (เครื่องจักสานย่านลิเภา)

ผลิตภัณฑ์สินค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช (เครื่องจักสานย่านลิเภา)

     เป็นเครื่องจักสานประเภทหนึ่ง ที่สานด้วยย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเฟิร์น หรือ เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลำต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนำมา จักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ แหล่งผลิตที่สำคัญ ของเครื่องจักสานย่านลิเภาอยู่ที่บ้านหมน ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาค เครื่องจักสานย่านลิเภา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง ในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีกำเนิดจากการจักสานย่านลิเภา เป็นข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่มีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี

คาบสมุทรสยาม

คาบสมุทรสยาม

     เมืองหลวงของสยามนั้นทำไมจึงอยู่ที่อยุธยา ธนบุรี กรุงเทพฯ ? ตอบ ก็เพื่อจะคุมทะเลไงครับ ราชธานีเราไม่เพียงคุมคนคุมไพร่และคุมนาเท่านั้น ยังคุมทะเลด้วย มองเผินๆ คือ คุมอ่าวไทย แต่มองให้ลึกกว่านั้น คุมทะเลอันดามันด้วย จากอ่าวไทย ที่อยู่ใต้อยุธยาไม่มากนั้น อยุธยาย่อมค้าขายและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับจีนได้อย่างสะดวก และจากทะเลอันดามัน ผ่านเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี นั้น อยุธยาก็ย่อมแลกเปลี่ยนสินค้ากับฝรั่ง เปอร์เซีย อาหรับ และอินเดีย ได้ พร้อมทั้งรับศาสนาพราหมณ์และพุทธจากอินเดียด้วย

    สยามต่างจากไทยขณะนี้ รู้ดีว่าที่ตั้งของตนนั้นสำคัญยิ่งต่อการเดินทะเลที่จะเชื่อมโยงอินเดีย เปอร์เซีย และฝรั่ง เข้ากับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เมืองหลวงของเรานั้นอยู่ในวิสัยที่กุมคาบสมุทรไทยได้ทั้งแท่ง ตั้งแต่กุมทวาย มะริด ตะนาวศรี ทางฝั่งอันดามัน เชื่อมเมืองเหล่านี้เข้ากับอยุธยา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ทางอ่าวไทย ทั้งนี้ ในอดีตนั้น มีบ่อยครั้งมากที่ทวาย มะริด ตะนาวศรี ตกอยู่ในเขตไทย เป็นส่วนตะวันตกสุดของราชอาณาเขต ติดทะเลอันดามัน เหตุนี้อยุธยาจึงค้าขายกับอินเดียและดินแดนตะวันตกกว่านั้นก็ได้ ค้าขายกับเวียดนาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ที่อยู่ทางตะวันออก ก็ได้ ติดต่อกับต่างชาติทางทะเลได้สะดวกทั้งสองทาง เมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่ภาคกลาง และกุมนากุมคนได้ ในขณะเดียวกันก็จะกุมสองทะเลสองสมุทรได้ไม่ยากด้วย และนี่ก็คือความยิ่งใหญ่ของราชธานีไทย ต่างไปมากจากราชธานีของดินแดนสุวรรณภูมิอื่นๆ

 

โอ่งมังกรราชบุรี

โอ่งมังกรราชบุรี

     โอ่งมังกรถือเป็นสินค้าประจำจังหวัดราชบุรีมากว่า 60 ปี     ด้วยเอกลักษณ์ของดินสีแดงอันมีความเฉพาะตัว และความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเลียนแบบได้ยาก  “เรื่องของโอ่ง”  สถานที่ท่องเที่ยวแนวใหม่ เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวราชบุรีอย่างแท้จริงด้วยความมุ่งมั่นในการสืบสานศิลปวัฒนธรรม การปั้นโอ่งมังกร  ของจังหวัดราชบุรี ในรูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน ทั้งด้านความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของอัตลักษณ์ประจำจังหวัดให้ชนรุ่นหลังตระหนักถึงความเป็นมาของโอ่งมังกร ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์และดำรงภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวราชบุรี คงไว้ซึ่งเสน่ห์อันเป็นตำนานมีชีวิตและเป็นที่นิยมตลอดไป สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นลูกหลาน “เมืองโอ่งมังกร” และเผยแพร่วัฒนธรรมสู่นานาประเทศ

หมวกกุยเล้ยฉะเชิงเทรา

หมวกกุยเล้ยฉะเชิงเทรา

     เป็นหัตถกรรมดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเลือกสรรและนำเอาวัสดุที่มีอยู่ใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการใช้สอยในจังหวัดฉะเชิงเทราก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งมีวัตถุดิบตามธรรมชาติ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการจักสานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบุง กระพ้อมใส่ข้าว หมวกใส่กันแดด แม้กระทั่งผู้ที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองก็จะสานสุ่ม ลอบ ไซ ไว้ดักจับสัตว์น้ำ นับเป็นการดำรงชีวิตที่เหมาะสมกลมกลืนกับสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อีกทั้งมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการจักสาน ให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังตลอดมา

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวพัทลุง

ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวพัทลุง

     มนุษย์รู้จักมะพร้าวมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มะพร้าวเป็นอาหารทำน้ำมัน และทำเป็นเครื่องปรุงอาหารหวานคาวนานาชนิดมะพร้าวจึงเป็นพื้นที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี มะพร้าวจึงมีอรรถประโยชน์นานาประการ กะลามะพร้าวนั้นเคยทำเป็นของใช้ประเภท ขันตักน้ำกระบวยตักน้ำและทำเป็นป้อยตวงข้าวสารสำหรับหุงข้าวกันมานาน และก้าวมาถึงวันที่กะลาอันไร้ค่า เกิดมีค่าขึ้นมาในสายตาของนักประดิษฐ์มีการจัดการแปรรูปกะลาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มคุณค่าได้มากหลายนอกจากทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสภาพสตรี ออกแบบเป็นกระเป๋าถือ สภาพสตรี เข็มขัด เข็มกลัดปั่นปักผม สร้อย ที่เด่น ๆ ก็ได้แก่ โคมไฟฟ้าสามขา และตะเกียงเจ้า พายุนักประดิษฐ์ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวรูปแบบใหม่นานา ชนิด ซึ่งได้หลั่งไหลไปสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศอย่างไม่ขาดสาย

ผ้าทอเกาะยอสงขลา

ผ้าทอเกาะยอสงขลา

     ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านในตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา ผ้าทอเกาะยอส่วนมากทอมาจากเส้นใยฝ้าย มีเนื้อแน่น ลวดลายไม่ซับซ้อน เป็นลวดลายที่เกิดจากการขีด โดยการทอด้วยมือและแบบเหยียบตะกอแยกเส้นยืนขึ้น-ลง ทำให้เกิดลายตารางคล้ายกับผ้าขาวม้า นิยมใช้ทำผ้าโสร่งและผ้านุ่ง โดยมีจุดเด่นของผ้าทอเกาะยอจึงอยู่ที่มีลายในเนื้อผ้าที่นูนขึ้นมา มีลายเส้ ละเอียดสวยงามและมีความคงทน เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย ลายตารางที่มีขนาดเล็กซ้อน ๆ กัน ทอด้วยด้ายสองสี เช่น สีขาว-แดง สีขาว-แดงแซมดำ สีขาว-แดงแซมเหลือง จึงมักเรียกผ้านี้ว่า “ผ้าลายราชวัตร”

เสื่อกกจันทบุรี

เสื่อกกจันทบุรี

     การทอเสื่อกก  เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น  ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี  แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน  เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน  หรือทำธุรกรรมต่างๆ  ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ   เสื่อกก  เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ  ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง  ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต การศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของชุมชนนี้  ก็เพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น  และปัญหาที่เสี่ยงต่อการสูญสิ้นของภูมิปัญญานี้ ว่ามีมากหรือน้อย และด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบใด เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์หรือแก้ไข  สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป

มีดบ้านพร้าวพัทลุง

มีดบ้านพร้าวพัทลุง

     ประวัติความเป็นมา กลุ่มตีเหล็กบ้านพร้าว ได้จัดตั้งกลุ่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๕ บ้านหน้าป่า หมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เนื่องจากราษฎรในหมู่บ้าน มีอาชีพทางการเกษตร (ทำสวนยาง) เป็นหลัก เมื่อกรีดยางเสร็จแล้ว ช่วงบ่ายจะมีเวลาว่าง นายวินัย มาลา จึงได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียง มารวมกลุ่มกัน เพื่อตีมีด ทำเครื่องมือการเกษตรหลายชนิด โดยนายวินัย มาลา ได้เป็นผู้ฝึกสอนการทำให้กับสมาชิก ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด ๑๓ คน

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์

-เป็นมีดโบราณ

-มีลวดลายไทยรูปแบบต่าง ๆ ในตัวมีด

-ผลิตภัณฑ์มีหลายประเภท

-รูปแบบตัวมีดเป็นรูปหัวนก รูปหนังตะลุง

-การผลิตเป็นแบบดั้งเดิม ใช้แรงงานคน

หัตถกรรมจักสานกระจูด บ้านห้วยลึกสุราษฎร์ธานี

หัตถกรรมจักสานกระจูด บ้านห้วยลึกสุราษฎร์ธานี

     ความเป็นมาหัตถกรรมจักสานกระจูด   แม่เฒ่าเพียร นิ่มเผือก ผู้เป็นต้นแบบของคนรุ่นแรก ผู้เปี่ยมด้วยภูมิปัญญางานสานกระจูด ท่านสานกระจูดเป็นของใช้แบบต่าง ๆ เช่น เสื่อ กระบุง ไว้ใช้ในบ้าน เช่นเดียวกับคนท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งใช้เส้นใยจากพืชที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น มาสานเป็นเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน     ในปี ๒๕๒๗ มีการส่งเสริมศิลปาชีพ แม่เฒ่าเพียร ได้สานสมุกอย่างปราณีตให้กำนันจรัส เศรษฐเชื้อ ส่งเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเข้าประกวด ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ จ.นราธิวาส และได้รับรางวัลในครั้งนั้น เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาความรู้ในงานจักสานที่ตนมีอยู่ และเริ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระจูด เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากขึ้น     ในปี ๒๕๓๕ นางปรีฑา แดงมา ซึ่งเป็นบุตรีของแม่เฒ่าเพียร นิ่มเผือก ได้มีโอกาสส่งผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดเข้าประกวด ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศ และได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทำให้นางปรีฑา เกิดแรงบันดาลใจที่จะอนุรักษ์และรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหายไปจากชุมชน และเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของแม่ที่ได้ทำมา […]