หห

ความงดงามโมคลานเมืองเก่าบริเวณพื้นที่ส่วนป่าเขา

ความงดงามโมคลานเมืองเก่าบริเวณพื้นที่ส่วนป่าเขา

  โปรดติดตามทริปเร็วๆนี้ : ท่องแดนมหัศจรรย์ แอ่งทะเลหมอกแห่งทัพน้ำเต้าองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตักบาตรยามเช้า ความลี้ลับแห่งหลุมพลี แผนที่ถ้ำ และการบรรลุธรรม ชีวิตเขาพันล้าน – น้ำตกแห่งจักรวาล

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณใจกลางเมือง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณใจกลางเมือง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติบริเวณใจกลางเมืองเก่าโมคลาน พื้นที่ใจกลางชุมชนโมคลาน คือพื้นที่เมืองเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองที่มีอารยธรรมพราหมณ์เก่าแก่ที่สุดตามปรากฎหลักฐานประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ซึ่งพิธีกรรมบูชาองค์ศิวลึงค์โดยใช้น้ำจากสายน้ำแห่งคลองโมคลาน(คลองโต๊ะเน็ง/คลองควาย) สายน้ำแห่งคลองมะยิง และสายน้ำแห่งคลองบางมวง โดย 3 สายน้ำนี้ได้โอบพื้นที่โบราณสถานอย่างงดงาม บริเวณคลองมะยิง : ชมบัวแดง เลือกทริปเส้นทางอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองมะยิง ตลาดวัดโหนดเก่า ตำนานช้าง ตำนานตวนกู พิพิธภัณฑ์สายน้ำมะยิง สะพานโหนด แนวชั้นหม้อดินเผาโบราณ (รอยต่อคลองโมคลานกับคลองมะยิง) เลือกทริปเล่นน้ำคลองมะยิงแบบโบราณ ว่ายน้ำคลองกับลูกหลานโมคลาน เก็บภาพสะพานปูน-ไม้ ข้ามคลองมะยิง เล่นงมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ หิ่งห้อยยามราตรี   บริเวณคลองโมคลาน : ชมบัวขาว เลือกทริปล่องเรือคลองโมคลาน เล่าเรื่องพัฒนาการจากคลองโมคลาน สู่คลองควายและคลองโต๊เน็งในปัจจุบัน : ท่าน้ำ 2 ฝั่งโบราณ หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองโมคลาน : […]

แม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปรางคือสนมเอกในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงตั้งฐานทัพและรบพม่าบริเวณกรุงตาก กรุงนาง กรุงชั่ง กรุงตอ กรุงชิง สวนของปรางคือพื้นที่รายรอบถ้ำกรุงนาง(ปราง) หมู่ที่ 5 หมู่ที่6 และหมู่ที่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อธิบายเรื่องราวจากผู้เฒ่าประจำท้องถิ่น คือ นายสวัสดิ์ จันทร์ชุม 90+ปี  นางละมุล เพชรนิล 85+ปี และนางหีดฝ้าย แดงพรหม 90+ปี บอกถึงหน้าตา บุคลิก และลักษณะของแม่ปรางว่า ” หน้าตาสวยงาม รูปหน้าดั่งดวงเดือน ผิวขาว ตาไม่โต จมูกโด่งแต่รูปทรงแบน ปากเล็กๆ เกล้าผมม้วนขึ้นสูง หน้าผากล่อ(โหนก) สวมเสื้อแม่ไก่ แม่ชอบสวมเสื้อสีขาว นุ่งจงกระเบนผ้าลายดอกสีเหลือง ห่มสไบสีขาวพาดเฉียงเอียงขวาปัดไปด้านหลัง แม่ปฏิบัติธรรมและเป็นคนเก่ง มีผู้คนเคารพมาก กล่าวคือใครๆก็ขึ้นกับแม่ปราง ” […]

อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์   พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด – กรุงชิง ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นอดีตพื้นที่แห่งความทรงจำระหว่างพระองค์ผู้กอบกู้ชาติไทยและลูกหลานบนผืนดินแห่งนี้และทั่วแผ่นดินไทย ลูกหลานนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีได้ดำรงรักษาพื้นที่สานต่อบรรพชนให้คงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นธรรมชาติอันงดงาม : สวรรค์แห่งทะเลหมอก […]

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณทวารเมืองโบราณ : ปากพยิง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณทวารเมืองโบราณ : ปากพยิง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติแห่งโมคลานบริเวณทวารเมืองเก่า : ปากพยิง ปากพยิง คือพื้นที่บริเวณอาณาที่มีการเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแพ คลองพยิงเก่า และคลองพยิงใหม่  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลาและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้วยอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยดังนั้นอากาศจึงเย็นสบาย ประกอบกับสภาพที่ตัั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ด้านหนึ่งมีเทือกเขานครศรีธรรมราช และอีก 2 ด้านประกบ คือ ทะเลจีนใต้(ทางตะวันออก) และทะเลอันดามัน(ทางตะวันตก) ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนสลับกันตลอดทั้งปีประกอบกับอาณาพื้นที่ปากพยิง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช หมุดตั้งของพื้นที่วิถีโค้งของอ่าวทองคำ(อ่าวท่าศาลา)จึงคงความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีทำให้โครงสร้างป่าชายเลนยังสามารถคงความสมบูรณ์นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พันธุ์ไม้ที่พบ อาทิ โกงกาง แสมขาว ลำแพน ลำพู  ฯลฯ สัตว์ที่พบ อาทิ กุ้งขาว ปูแสม หอยเจดีย์ ฯลฯ ตลอดจนถึงนกบริเวณป่าชายเลน อาทิ นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปีย นกกาน้ำ นกจาระกอ นกแอ่นทะเล(นกตามเรือ)กาเหว่า นกเขา  นกแสก นกยางขาว เหยี่ยว นกกระสา นกกวัก นกอีลุมนกเป็ดน้ำ ฯลฯ ด้วยเล็งเห็นว่าระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนหากดำรงคู่กับวิถีท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าจะเป็นการอนุรักษ์ เยียวยารักษา และพลิกฟื้นป่ายชายเลนให้ดำรงอยู่กับลูกหลานสืบไป ดังนั้นจึงจัดทำโปรแกรมประสบการณ์ท้องถิ่นเชิงอนุรักษ์ […]

โบราณสถานโมคลาน

โบราณสถานโมคลาน

    โบราณสถานโมคลาน บนสันทรายเก่าแห่งนครศรีธรรมราช คือ ตีรถะหรือสถานที่ข้ามห้วงมหรรณพแห่งวัฏสงสาร เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ปลดปล่อยวิญญาณอิสระ หลุดพ้น เชื่อมโยงโครงสร้างสภาพภูมิศาสตร์นับอดีตกาลที่ยังคงอยู่ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ มหาสมุทร ขุนเขาแผ่อาณาครอบคลุมนครศรีธรรมราช ตามหลักจักรวาลวิทยาที่พยามยามค้นหาศูนย์กลางแห่งจักรวาล……..ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ปลดปล่อยวิญญาณอิสระ หลุดพ้น : ระบบโครงสร้างรูปมัณฑละซับซ้อนสะท้อนจักรวาลวิทยา……..เกิดมาครั้งหนึ่งให้ได้มาเยือนโมคลานเมืองเก่า อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และทักทายกันมานะคะ ทีมนักสื่อความหมายแห่งโมคลาน รอพาท่านไปชมบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลของดินแดนแห่งนี้   การสร้างเมืองและศาสนสถาน รวมถึงหลายสิ่ง อาทิ แนวคูน้ำที่สร้างรอบเมืองหรือศาสนสถาน ปรากฎขึ้นในฐานะที่เป็นมหาสมุทรแห่งจักรวาล นอกจากนี้แนวกำแพงที่สร้างล้อมรอบศาสนสถาน ล้อมรอบเมือง ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของเทือกเขาที่ได้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ตลอดจนถึงเทวาลัยที่ตั้งตรงจุดกึ่งกลางของเมืองพอดิบพอดีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของภูเขาแห่งจักรวาล บริบทสัมพันธ์อธิบายถึงดินแดนโมคลาน ห้วงอ่าวไทยถึงแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช ……..ยอดเขาหลวง ……..ธรณีประตููของแผนผังมัณฑละเล็ก และมัณฑละใหญ่……..ภาพจำลองตามระบบความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา……..พื้นที่โมคลานแห่งนี้มีความสอดคล้องหลายสิ่งที่มิใช่เป็นเพียงเทวาลัย ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือเรื่องราวการย้ายถิ่นของคนเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องเล่าเรื่องราวถึงกำแพงเมือง ก้อนอิฐ คูเมือง กิ่งคูคลอง เศษซากสัตว์พืชโบราณ รอยต่อการเปลี่ยนแปลงของยุค ความผูกพันของสายสัมพันธ์พราหมณ์ ตลอดจนถึงการเป็นดินแดนจาริกแสวงบุญมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน […]

อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

ชุมชนโบราณโมคลานเป็นชุมชนใหญ่ปรากฎในแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายเลข 49361 ระวาง L708 (อำเภอท่าศาลา) พิกัด 25485 ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าซึ่งเกิดขึ้นในยุคโฮโลซีน(Holocene) อายุประมาณ 5,000-8,000 ปีมาแล้ว วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกับชายฝั่งอ่าวไทย สันทรายนี้อายุมากกว่าสันทรายที่เป็นที่ตั้งของตัวเมืองนครศรีธรรมราชที่เหยียดทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ตั้งแต่อำเภอสิชลจนถึงอำเภอเชียรหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างสันทรายเก่าแและใหม่นี้มีระยะห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร จากการเป็นสันทรายเก่าแก่จึงสันนิษฐานว่าชุมชนโมคลานเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนสันทรายที่เกิดมาตามหลัง ซึ่งสอดคล้องกับลำนำชีวิตแบบย้อนยุคชุมชนโมคลานตามปรากฏหลักฐานโบราณคดีพุทธศตวรรษที่6 พุทธศตวรรษที่12-14 ที่ส่งต่อมาสู่ลูกหลานว่า “ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพยัง ข้างหลังโพธิ์มี  7เจดีย์ 9ทวาร 4เลนจัตตุบาท” และลำนำชีวิตแบบร่วมสมัยชุมชนโมคลานในช่วง 100-150 ปีที่ผ่านมาว่า “เรือสำเภาใหญ่………” กล่าวคือทิศตะว้นออกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 3 กิโลเมตร คือสันทรายที่เกิดขึ้นมาช่วงหลังและอ่าวไทย ทิศตะวันตกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 10 กิโลเมตรคือเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาหลวง […]