อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์

 

พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด – กรุงชิง

ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นอดีตพื้นที่แห่งความทรงจำระหว่างพระองค์ผู้กอบกู้ชาติไทยและลูกหลานบนผืนดินแห่งนี้และทั่วแผ่นดินไทย

ลูกหลานนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีได้ดำรงรักษาพื้นที่สานต่อบรรพชนให้คงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นธรรมชาติอันงดงาม :

สวรรค์แห่งทะเลหมอก สวรรค์แห่งพุทธศาสนิกชนตักบาตรในพื้นที่เดียวกันเป็นประจำทุกวัน บายศรีสู่ขวัญน้ำ ฯลฯ

 

อื่นๆ

1)ระยะทางจาก ต.วังไทร จ.สุราษฎร์ธานี มาต.ชุมโลง หรือ ต.กรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช เพียง 60-70 กม
2)พบดาบโบราณที่วังไทร  มีผู้ประสานงานขอร่วมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
3)บ้านควนราชา ต.ช้างซ้าย – ต.ช้างขวา จ.สุราษฎร์ธานี อธิบายยุทธศาสตร์การรบแผ่กว้างครอบคลุมฐานทัพมาถึง ต.ช้างกลาง จ. นครศรีธรรมราช
4)ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา และ ต.นาสาร อ.เมืองนครศรีธรรมราช คือแหล่งปฏิบัติธรรมทหารพระเจ้าตากสินซึ่งชื่อพ้องกับ ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และ ต.นาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
และอื่นๆ ……..โปรดติดตามเส้นทางกรุงชิง – พรหมคีรี / เส้นทางโมคลาน – พรหมคีรี /เส้นทางปากพญา – เมืองคอน / เส้นทางปากกลาย – กรุงชิง / เส้นทางพรหมคีรี – เมืองคอน

 

เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธฺ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *