Author: admin

เงินตรานโม

เงินตรานโม

     “นโม” เงินตราของเมืองคอน  เป็นวัตถุชิ้นเล็กๆที่สร้างขึ้นมาอย่างปราณีต สวยงาม มีความหมายอย่างครบถ้วน ทั้งมีความหมายอย่างกลมกลืน ในตัว ทั้งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องรางของขลังสามารถนำติดตัวไปใช้ คนเมืองคอนเป็นคนช่างคิด  ช่างสร้างสรรค์ ทำเงินตรา”นโม”ด้วยความมีศิลปะที่น่ายกย่องของคนเมืองคอนโบราณ สมดังคำที่ว่า”คนเมืองคอน เมืองนักปราชญ์ มาแต่โบราณ ที่ก่อเกิดวัฒนธรรม “เงินตรานโม”เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งปัจจุบันเป็นศิลปประจำชาติไทยที่ ทั่วโลกยอมรับถึงความเป็นคนอนุรักษ์ประเพณี-วัฒนธรรม คนรุ่นใหม่หรือสืบเชื้อสายโลหิตเมืองนคร ควรนับถือในเกียรติคุณประวัติของโบราณวัตถุอันนี้ของบ้านเราไว้  เงินตรานโมพอจะเชื่อได้ว่าบรรพบุรุษของเราได้ใช้ เพื่อประโยชน์สุขมาแล้ว  เรายังต้องมีน้ำใจนับถือสงวนศักดิ์ศรีต่อโบราณวัตถุนี้ของเราเสมอด้วยของมีค่าอันหนึ่ง ทั้งควรภาคภูมิใจ ที่เมืองนครของเราเคยเป็นราชธานีมาครั้งหนึ่งแล้ว  น่าที่จะรักษาวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อรุ่นสู่รุ่น ต่อรุ่นตลอดไป มิใช่หลงธรรมเนียมฝรั่งแล้วเดินตามก้นฝรั่ง ซึ่งไม่มีวัฒนธรรมของความเป็นชาติ ปัจจุบันฝรั่งบางชาติกำลังวิ่งเสาะหาความเป็นชาติ ความเป็นเอกลักษณ์ ความเป็นมาของตนเองในอดีต ยอมแม้จะสร้างสิ่งนั้นมาอาจเป็นการลวงก็เป็นได้

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

     พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มรดกศาสตร์ มรดกศิลป์คาบสมุทรสยาม ประดิษฐานในวัดพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช เป็นศูนย์รวมศรัทธา ความเลื่อมใสอันบริสุทธิ์ สะอาด ผ่องใส ของพุทธศาสนิกชนบนคาบสมุทรสยามมาหลายศตวรรษ     ผลการทดสอบอิฐ12ตัวอย่างเพื่อหาค่าอายุพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชโดยวิธีเรืองแสงความร้อน(Thermoluminescence,TL) อายุอิฐ/ตะกอนดิน(ฐานล่างสุดขององค์พระบรมธาตุ)คือประ มาณ1,021 ค่าบวกลบ51ปี และอายุประมาณ1,119 ค่าบวกลบ67ปี

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

พระแสงขรรค์คู่เจ้าตาก

ดาบพระแสงขรรค์คู่เจ้าตากที่ถูกเก็บมานานกว่า๒๕๐ปี ถูกค้นพบ ณ ห้องบรรทมพระเจ้าตากฯ ถ้ำเทวตากฟ้า อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช โดย ดร.สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์ ระหว่างศึกษาประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯบนแผ่นดินนครศรีธรรมราชและพื้นที่ใกล้เคียง

เหล็กไหลเจ้าตาก

เหล็กไหลเจ้าตาก

พื้นที่ในค่ายเจ้าตาก อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช มีโรงหลอมเหล็กและตีดาบ และยังค้นพบทั่งตีดาบ แผ่นศิลารองตีดาบเรียงรายพื้นที่อาณามากกว่า 10 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อถ้ำภิกษุนักรบปานและเขาพันล้าน จ.นครศรีธรรมราช ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตีดาบศึกไทย-พม่า ประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดารพระเจ้าตากฯชื่อช่างหอม  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบันเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า นาตาหอม

อัญมณีเจ้าตาก

อัญมณีเจ้าตาก

“เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกตเหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอกสีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารสีหมกมัวแดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์” สั่งซื้อสินค้า

พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

พื้นที่ส่วนป่าเขา

 

 

เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม : เส้นทางกรุงชิง-พรหมคีรี

เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์

พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด – กรุงชิง

ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นอดีตพื้นที่แห่งความทรงจำระหว่างพระองค์ผู้กอบกู้ชาติไทยและลูกหลานบนผืนดินแห่งนี้และทั่วแผ่นดินไทย

ลูกหลานนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีได้ดำรงรักษาพื้นที่สานต่อบรรพชนให้คงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นธรรมชาติอันงดงาม :

สวรรค์แห่งทะเลหมอก สวรรค์แห่งพุทธศาสนิกชนตักบาตรในพื้นที่เดียวกันเป็นประจำทุกวัน บายศรีสู่ขวัญน้ำ ฯลฯ

อื่นๆ

1)ระยะทางจาก ต.วังไทร จ.สุราษฎร์ธานี มาต.ชุมโลง หรือ ต.กรุงชิง จ.นครศรีธรรมราช เพียง 60-70 กม
2)พบดาบโบราณที่วังไทร  มีผู้ประสานงานขอร่วมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
3)บ้านควนราชา ต.ช้างซ้าย – ต.ช้างขวา จ.สุราษฎร์ธานี อธิบายยุทธศาสตร์การรบแผ่กว้างครอบคลุมฐานทัพมาถึง ต.ช้างกลาง จ. นครศรีธรรมราช
4)ต.ขุนทะเล อ.ลานสกา และ ต.นาสาร อ.เมืองนครศรีธรรมราช คือแหล่งปฏิบัติธรรมทหารพระเจ้าตากสินซึ่งชื่อพ้องกับ ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี และ ต.นาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
และอื่นๆ ……..โปรดติดตามเส้นทางกรุงชิง – พรหมคีรี / เส้นทางโมคลาน – พรหมคีรี /เส้นทางปากพญา – เมืองคอน / เส้นทางปากกลาย – กรุงชิง / เส้นทางพรหมคีรี – เมืองคอน

เลือกทริปแม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปราง : หน้าตา บุคลิก และลักษณะ

แม่ปรางคือสนมเอกในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงตั้งฐานทัพและรบพม่าบริเวณกรุงตาก กรุงนาง กรุงชั่ง กรุงตอ กรุงชิง สวนของปรางคือพื้นที่รายรอบถ้ำกรุงนาง(ปราง) หมู่ที่ 5 หมู่ที่6 และหมู่ที่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

สวนแม่ปราง : แผนที่สวนและการตั้งถิ่นฐาน

แผนที่ยามอดีต : ประชากรหนาแน่นบริเวณใกล้ๆถ้ำ(ปัจจุบัน คือ หมู่5) มีลำธาร วัด สวนผักผลไม้ ประกอบด้วย ต้นมะปราง ลางสาด ทุเรียนพื้นบ้าน เงาะพื้นบ้าน  มังคุด ผักสวนครัวและสมุนไพรต่างๆ  ทั้งนี้ประชากรและสวนผักผลไม้ ได้กระจายบางตาออกไปบริเวณรอบๆ

แผนที่ปัจจุบัน :  ประชากรกระจายตัวอยู่ห่างไกลจากถ้ำ สภาพเปลี่ยนแปลงไปจากยามอดีต คือ พื้นที่บริเวณใกล้ๆถ้ำกลับมีประชากรบางตาและเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราค่อนข้างเต็มพื้นที่ สิ่งที่น่าประทับใจ คือ พบต้นทุเรียนพันธ์ุพื้นบ้าน/ลางสาดโบราณอายุ 100+ ปี ปรากฏในพื้นที่บริเวณห่างไกลออกมาจากถ้ำ (ปัจจุบัน คือ หมู่6 หมู่7)

การจัดทำแผนที่ต้นปรางในปี 2560 ยังคงมีมากกว่า 50 ต้น และแผนที่ต้นไม้พันธ์ุพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลือบริเวณสวนแม่ปรางที่ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน

ความอร่อยของมะปรางดิบคือรสชาติเปรี้ยว เหมาะกับเมนูแกงส้ม/ยำ มีให้รับประทานแบบลูกดิบ ช่วง ก.ค.-ส.ค. หากรับประทานแบบลูกสุกรสชาติหวานในช่วงปลาย ส.ค. อย่างไรก็ตามในช่วง ก.ย./ต.ค./พ.ย. ยังพอจะไปหาลูกปรางนอกฤดูกาลมาให้รับประทานกัน

 

ถ้ำกรุงนาง(ปราง)

เส้นทางประวัติศาสตร์พระเจ้าตากสินมหาราช : กรุงชิง-เขาขุนพนม สิ่งที่ควรจดจำคือ ถ้ำกรุงนาง(ปราง) ซึ่งหมายถึงสนมเอกที่เป็นคู่สุขคู่ทุกข์ของพระองค์ ณ สวนของปราง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านสวนปรางเก่า-ใหม่ หมู่ที่5-6-7 ตั้งอยู่บริเวณรายรอบถ้ำ  ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

มหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

สนมเอกปราง : คู่ทุกข์คู่ยากขององค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในยามออกรบในพื้นที่ครอบคลุมกรุงชิง กรุงตอ กรุงชั่ง กรุงนางและกรุงตาก พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี : โบราณกล่าวว่า “เข้าถ้ำกรุงนาง(ปราง) เหมือนเดินบนรางรถไฟ”…….ดูแผนที่เอาเถิด! คือ 1)มีชุมทาง 2)มีสถานีเข้า-ออก 3)สถานีขึ้น-ลงเป็นจุดๆ ดั่งให้แวะพัก(วิปัสสนา/กรรมฐาน/สนทนาธรรม) 4)ยามรบ สามารถใช้เป็นค่ายกล มีจุดวกกลับหลอกศัตรู จุดอำพราง หากจำเป็นต้องหลบหนีให้ไปช่องสลับตา รวมถึงช่องทางออกที่แสงลอดเข้ามามากๆหากหลงมาช่องเส้นทางนี้จะงงเพราะชันปีนไม่ได้ และทางที่เหมือนลอดได้แต่ติดหินย้อยราวกับปลาติดไซ ……..นี่คือความมหัศจรรย์แห่งถ้ำกรุงนาง(ปราง)

โปรดติดตามทริปใหม่เร็วๆนี้ : สืบสานตำนานงานบุญประเพณี
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากปากพยิงสู่เขาขุนพนม
          กิจกรรมกราบพระ 9 วัด จากปากพยิงสู่เขาขุนพนม
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่เขาขุนพนม
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่เมืองนครศรีธรรมราช
          เส้นทางพระเจ้าตากสินมหาราช จากกรุงชิงสู่กรุงตาก
          บูชาพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดเขาขุนพนม
          เส้นทางพระนางตรา พระนางท่าเรือ

โปรดติดตามทริปใหม่เร็วๆนี้ : สืบสานตำนานงานบุญประเพณี 
         
ลอยน้ำบายศรีสู่ขวัญกรุงชิง

พื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ

พื้นที่ใจกลางเมืองโบราณ

บริเวณคลองมะยิง : ชมบัวแดง เลือกทริปเส้นทางอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาโบราณ           หัวใจสายน้ำ ณ แยกคลองมะยิง            ตลาดวัดโหนดเก่า           ตำนานช้าง           ตำนานตวนกู           พิพิธภัณฑ์สายน้ำมะยิง           สะพานโหนด           แนวชั้นหม้อดินเผาโบราณ (รอยต่อคลองโมคลานกับคลองมะยิง) เลือกทริปประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมสมัย ตำนานพระเจ้ากรุงชิง/แท่นตรวจงานพระเจ้ากรุงชิง สุสานปาลีเมาะเจ๊เต๊ะ ฮัจยีห์สุโหรงในนครศรีฯ ตำนานชี : สถานธรรมแม่ชีโมคลานสู่ตำนานแม่ชีนมเหล็ก ตำนานพ่อท่านสิงห์ ตำนานเณรแก้ว ตำนานหลวงปู่กลิ่น แท่นส่งบรรพชนโบราณ(แท่นเผาร่างโบราณ) กลองมโหระทึก เรือตะเคียนทอง ตลาดวัดโหนดเก่า ตำนานเรือสำเภาล่ม เลือกทริปขึ้นรูปดินด้วยมอน เลือกทริปฉลุลาย เลือกทริปร้อยลูกปัดแห่งโมคลาน เลือกทริปเพ้นท์สีอะคริลิคบนดินเผา เลือกทริปเลื้อยเล่นเส้นดินสู่ชิ้นงาน เลือกทริปเทคนิคการเผาด้วยเตาเผาแบบโบราณ เลือกทริปลอยกระทงดินดิบแบบประเพณีโบราณ ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อจากบรรพชนนับตั้งแต่อดีตกาล จากคติความเชื่อนานัปการ อาทิ เชื่อว่าเป็นการขอขมาแม่พระคงคา […]

พื้นที่ทวารเมืองโบราณปากพยิงเก่าสู่พยิงใหม่ 

พื้นที่ทวารเมืองโบราณปากพยิงเก่าสู่พยิงใหม่ 

          ปากพยิง คือพื้นที่บริเวณอาณาที่มีการเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแพ คลองพยิงเก่า และคลองพยิงใหม่  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลาและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้วยอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยดังนั้นอากาศจึงเย็นสบาย ประกอบกับสภาพที่ตัั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ด้านหนึ่งมีเทือกเขานครศรีธรรมราช และอีก 2 ด้านประกบ คือ ทะเลจีนใต้(ทางตะวันออก) และทะเลอันดามัน(ทางตะวันตก) ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนสลับกันตลอดทั้งปีประกอบกับอาณาพื้นที่ปากพยิง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช หมุดตั้งของพื้นที่วิถีโค้งของอ่าวทองคำ(อ่าวท่าศาลา)จึงคงความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีทำให้โครงสร้างป่าชายเลนยังสามารถคงความสมบูรณ์นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พันธุ์ไม้ที่พบ อาทิ โกงกาง แสมขาว ลำแพน ลำพู  ฯลฯ สัตว์ที่พบ อาทิ กุ้งขาว ปูแสม หอยเจดีย์ ฯลฯ ตลอดจนถึงนกบริเวณป่าชายเลน อาทิ นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปีย นกกาน้ำ นกจาระกอ นกแอ่นทะเล(นกตามเรือ)กาเหว่า นกเขา  นกแสก นกยางขาว เหยี่ยว นกกระสา นกกวัก นกอีลุมนกเป็ดน้ำ ฯลฯ            ระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนหากดำรงคู่กับวิถีท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าจะเป็นการอนุรักษ์ […]

พยิงเก่า

พยิงเก่า

     พยิงเก่า พระอาทิตย์ยิงสู่นครศรีธรรมราชย้อนอดีตแห่งเมืองบนสันทรายเก่าโบราณ ครอบคลุมพื้นที่ปากพยิงสมัยบรรพกาล ปัจจุบันสามารถล่องเรือออกไปดูจุดพระอาทิตย์ยิงสู่นครศรีธรรมราชในจุดที่เป๊ะที่สุด สามารถล่องเรือได้จากท่าปากพยิงเก่า ท่าปากพยิงใหม่ ท่าปากพญา และปากน้ำท่าแพ ซึ่งแต่ละท่านั้นมีเสน่ห์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างไร? มาติดตามการเล่าเรื่องจากนักสื่อความหมายของแต่ละแห่งนะคะ!