Author: นางตรา ดอกบัวขาว

แม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปราง : บนทางโลกและทางธรรม

แม่ปรางคือสนมเอกในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มาใช้ชีวิตอยู่ในช่วงตั้งฐานทัพและรบพม่าบริเวณกรุงตาก กรุงนาง กรุงชั่ง กรุงตอ กรุงชิง สวนของปรางคือพื้นที่รายรอบถ้ำกรุงนาง(ปราง) หมู่ที่ 5 หมู่ที่6 และหมู่ที่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช อธิบายเรื่องราวจากผู้เฒ่าประจำท้องถิ่น คือ นายสวัสดิ์ จันทร์ชุม 90+ปี  นางละมุล เพชรนิล 85+ปี และนางหีดฝ้าย แดงพรหม 90+ปี บอกถึงหน้าตา บุคลิก และลักษณะของแม่ปรางว่า ” หน้าตาสวยงาม รูปหน้าดั่งดวงเดือน ผิวขาว ตาไม่โต จมูกโด่งแต่รูปทรงแบน ปากเล็กๆ เกล้าผมม้วนขึ้นสูง หน้าผากล่อ(โหนก) สวมเสื้อแม่ไก่ แม่ชอบสวมเสื้อสีขาว นุ่งจงกระเบนผ้าลายดอกสีเหลือง ห่มสไบสีขาวพาดเฉียงเอียงขวาปัดไปด้านหลัง แม่ปฏิบัติธรรมและเป็นคนเก่ง มีผู้คนเคารพมาก กล่าวคือใครๆก็ขึ้นกับแม่ปราง ” […]

อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

อัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : กลยุทธ์เชิงรบเส้นทางนครศรีธรรมราช-สุราษฎร์ธานี

แผนที่ยุทธศาสตร์กำหนดพื้นที่ยามออกศึกพม่าบริเวณพื้นที่นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ขององค์สมเด้จพระเจ้าตากสินมหาราชนักรบมือเปล่าผู้กู้ชาติไทย บนเส้นทางประวัติศาสตร์ : การตั้งฐานทัพครอบคลุมแนวภูเขาที่มีหลายลูกซ้อนๆกัน มีช่องเขาที่สุ่มเสี่ยงต่อการเล็ดลอดของศัตรู ถ้ำ/คลอง-ลำห้วยที่ซับซ้อนต่อการทำงาน การหาค่ายจำลองรบให้กับทหาร(ที่ซ้อมรบ/พัก) ค่ายราชาที่คล่องต่อการออกตัว แต่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นพบ(กรุงตาก / ค่ายราชา /ถ้ำราชา) ค่ายชั่งหยั่งเชิง(กรุงชั่ง) ค่ายเจรจาต่อรองที่ดึงตัวแทนผู้ต่อรองเข้ามาในเขตที่ต้องยอมเป็นรอง(กรุงตอ) การวางจุดล้อมศัตรูแนวเขาที่ซ้อนๆมุมเพื่อหลอกให้ลงมาง่ายๆก่อนตีโอบล้อมอีกครั้ง(กองทัพน้ำเต้า/ปากลง) การวางตำแหน่งไล่ศึกที่เข้าเขตต่อรองหากเปลี่ยนทีท่าจะไม่สามารถกลับออกไปได้(ปากไฮ)   การสำรวจเส้นทางเหล็ก(เขาเหล็ก) การทำศาสตรวุธ(โรงเหล็ก)  ค่ายสนมเอกปราง(กรุงปราง)และบริวารที่เก็บเสบียงอาหารต่างๆ  แหล่งคลังอาวุธ(เขาน้อย) สถานที่ปฏิบัติธรรมโดยชักชวนผู้ศรัทธาในธรรมปฏิบัติร่วมกัน(ถ้ำต่างๆ) ฯลฯ สะท้อนอัจฉริยภาพการรบเชิงยุทธศาสตร์ชั้นสูงบนทางโลกและทางธรรมของพระองค์   พื้นที่รบในยามนั้น คือ อำเภอนบพิตำ อำเภอพรหมคีรี และบางส่วนของอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เฒ่าเล่าว่าในยามอดีตสมัยองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถนน401 ไม่ใช่ถนนสายหลัก  ประชาชนสัญจรถนนสายหลักคือ บ้านกรูด – กรุงชิง ปัจจุบันเส้นทางนี้เป็นอดีตพื้นที่แห่งความทรงจำระหว่างพระองค์ผู้กอบกู้ชาติไทยและลูกหลานบนผืนดินแห่งนี้และทั่วแผ่นดินไทย ลูกหลานนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานีได้ดำรงรักษาพื้นที่สานต่อบรรพชนให้คงความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นธรรมชาติอันงดงาม : สวรรค์แห่งทะเลหมอก […]

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณทวารเมืองโบราณ : ปากพยิง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติโมคลานเมืองเก่าบริเวณทวารเมืองโบราณ : ปากพยิง

ความงดงามทรัพยากรธรรมชาติแห่งโมคลานบริเวณทวารเมืองเก่า : ปากพยิง

ปากพยิง คือพื้นที่บริเวณอาณาที่มีการเชื่อมต่อระหว่างคลองท่าแพ คลองพยิงเก่า และคลองพยิงใหม่  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลาและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  ด้วยอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยดังนั้นอากาศจึงเย็นสบาย ประกอบกับสภาพที่ตัั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ด้านหนึ่งมีเทือกเขานครศรีธรรมราช และอีก 2 ด้านประกบ คือ ทะเลจีนใต้(ทางตะวันออก) และทะเลอันดามัน(ทางตะวันตก) ทำให้ได้รับอิทธิพลลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อนสลับกันตลอดทั้งปีประกอบกับอาณาพื้นที่ปากพยิง อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช หมุดตั้งของพื้นที่วิถีโค้งของอ่าวทองคำ(อ่าวท่าศาลา)จึงคงความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีทำให้โครงสร้างป่าชายเลนยังสามารถคงความสมบูรณ์นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พันธุ์ไม้ที่พบ อาทิ โกงกาง แสมขาว ลำแพน ลำพู  ฯลฯ สัตว์ที่พบ อาทิ กุ้งขาว ปูแสม หอยเจดีย์ ฯลฯ ตลอดจนถึงนกบริเวณป่าชายเลน อาทิ นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปีย นกกาน้ำ นกจาระกอ นกแอ่นทะเล(นกตามเรือ)กาเหว่า นกเขา  นกแสก นกยางขาว เหยี่ยว นกกระสา นกกวัก นกอีลุมนกเป็ดน้ำ ฯลฯ

ด้วยเล็งเห็นว่าระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนหากดำรงคู่กับวิถีท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าจะเป็นการอนุรักษ์ เยียวยารักษา และพลิกฟื้นป่ายชายเลนให้ดำรงอยู่กับลูกหลานสืบไป ดังนั้นจึงจัดทำโปรแกรมประสบการณ์ท้องถิ่นเชิงอนุรักษ์ และเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะอันทรงคุณค่าแห่งนี้ การแปรรูปอาหารทะเล  ตำรับสุขภาพเฉพาะแบบชาวเล ความเชื่อความศรัทธา

เลือกทริปล่องเรือตามหาตะวัน
โปรแกรมล่องเรือตามหาตะวัน : สำหรับคำบอกเล่าที่ว่า “ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม… พระอาทิตย์โตเด่นดั่งถ้วยโอลิมปิกนั้นเป็นฉันใด จะมีอีกไหมที่จะได้พบกับพีระมิดแห่งปากพยิง ปฏิทินชีวิตที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ : ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว จุดตกที่ชื่อว่าดินแดนแห่งพระอาทิตย์ยิงลงปากน้ำนั้นเป็นฉันใด ใครรู้จริง!

เลือกทริปล่องแพยามรัตติกาล
โปรแกรมล่องแพยามรัตติกาล : สำหรับผู้ที่อยากสัมผัสความงามยามราตรีต่างกันไปในแต่ละทิวา ในบางคราความงดงามคือยามแสงจันทร์อร่ามฟ้า ขณะบางคราความงดงามคือความสงบท่ามกลางกลิ่นไอทะเล และดวงดาว ที่นี่ความงดงามรอท่านอยู่ทุกราตรี

เลือกทริปท่องโลกป่าชายเลน
อุโมงค์โกงกาง สัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่เย็นสบาย สดชื่นอย่างสุดหัวใจ จิบกาแฟและเอนกายท่ามกลางกลิ่นอายของธรรมชาติ
ล่องเรือแหวกโคลน ท่องโลกพันธุ์ไม้ :โกงกาง แสมขาว ลำแพน ลำพู  ฯลฯ สัตว์ :กุ้งขาว ปูแสม หอยเจดีย์ ฯลฯ

นกบริเวณป่าชายเลน : นกนางนวลแกลบเล็ก นกยางเปีย นกกาน้ำ นกจาระกอ นกแอ่นทะเล(นกตามเรือ)กาเหว่า นกเขา  นกแสก นกยางขาว เหยี่ยว นกกระสา นกกวัก นกอีลุม นกเป็ดน้ำ ฯลฯ และแอบดูปูเปรี้ยวยามหัวรุ่ง

เลือกทริปศึกษาเรียนรู้นวัตกรรม/เทคโนโลยีชุมชน : ประมงพื้นบ้าน
ระบบนิเวศและทรัพยากรป่าชายเลนหากดำรงคู่กับวิถีท้องถิ่นอย่างรู้คุณค่าจะเป็นการอนุรักษ์ เยียวยารักษา และพลิกฟื้นป่ายชายเลนให้ดำรงอยู่กับลูกหลานสืบไป ดังนั้นจึงจัดทำโปรแกรมประสบการณ์ท้องถิ่นเชิงอนุรักษ์ และเชิงบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่สาธารณะอันทรงคุณค่าแห่งนี้ การแปรรูปอาหารทะเล  ตำรับสุขภาพเฉพาะแบบชาวเล ความเชื่อความศรัทธา โปรแกรมศึกษานวัตกรรม/เทคโนโลยีประมงพื้นบ้าน  : ลอบปู ราวเบ็ด ทอดแห จับปูดำ/ดักแร้ว จับปูเปรี้ยว โพงพางดักกุ้ง/ปลา โพงพางเคย นากุ้งธรรมชาติที่เลี้ยงให้กุ้งกินอยู่แบบธรรมชาติ และจับกุ้งในจังหวะน้ำลดโดยเปิดประตูน้ำให้ออกไป “แร้ว” เป็นเทคโนโลยีชุมชนที่ใช้ปักเพื่อดักปูดำ…ปักทีละ 40-50 ตา(ไม้)โดยใช้ปูเปรี้ยวเป็นเหยื่อล่อ ปักในนากุ้ง หรือปักตามแพรกตามบาง โดยปักตอนจังหวะน้ำแห้ง พอจังหวะน้ำขึ้นแสดงว่าปูดำเข้าไปกินเหยื่อให้รีบไปยกขึ้น งานทะเลคืองานสังเกตดาว สังเกตลม สังเกตความสัมพันธ์ธรรมชาติรอบๆตัว…ซึ่งถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานรุ่นแล้วรุ่นเล่า นี่คืออีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ล่อล้อหอยนางรม โดยใช้ล้อยางร้อยเรียงรายดักจับหอยนางรมให้มาเกาะ รวมถึงการเกาะตามธรรมชาติบริเวณโคนต้นไม้ของป่าชายเลน อวนตัวหนอนดักกุ้ง กิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ การออกทะเล  การศึกษาวิธีการเลี้ยงสัตว์ทะเลในกระชัง : ปูเปรี้ยว ปูดำ ปลากะพง การเลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติ การเลี้ยงหอยนางรมธรรมชาติ  และกิจกรรมปรุงอาหารกับชาวประมงพื้นบ้าน

เลือกทริปเรียนวิชาดูหลำ : ศาสตร์การฟังเสียงปลา
พื้นที่ชุมชนโมคลาน เมืองเก่าในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีทั้งวัฒนธรรมพราหมณ์ วัฒนธรรมพุทธ วัฒนธรรมมุสลิม และอื่นๆ ที่สำคัญคือชุมชนโมคลานนับเป็นพื้นที่ที่มีอาณาบริเวณวัฒนธรรมมุสลิมหนาแน่นที่สุด ทั้งนี้บริเวณบ้านในถุ้งเป็นพื้นที่ติดกับทะเลฝั่งอ่าวไทย นับเป็นชุมชนที่ยึดอาชีพประมงเป็นหลักโดยสืบสานศาสตร์ “ดูหลำ” ต่อๆกันมานับตั้งแต่อดีตกาล นับเป็นวิชาที่ควรค่าแก่การร่วมเรียนรู้ สืบสานรักษาไว้แด่อนุชนรุ่นหลังต่อไป ฝั่งทะเลทางอ่าวไทยนครศรีธรรมราช มีวิชาการฟังเสียงปลามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยคนฟังเสียงปลานี้ ภาษายาวี เรียก “ยูสะแล” บางท้องถิ่นเรียก “ยูสะหลำ” หรือ “ดูลำ” การทำงานของดูหลำนั้น จะดำลงไปในน้ำแล้วใช้หูฟังเสียงปลา ต่างจาก “กาน้ำ” ของเรืออวนดำ ที่จะใส่แว่นดำน้ำลงไปดูฝูงปลาตามจุดที่วางซั้ง แต่สำหรับดูหลำแล้ว หูเอาไว้ฟังปลา ส่วนตานั้นเอาไว้มองอันตราย ปัจจุบันคนที่เป็นดูหลำเหลือไม่กี่คนแล้ว เพราะการทำดูหลำต้องทำเป็นทีม ชาวประมงจึงเปลี่ยนจับสัตว์น้ำด้วยวิธีการอื่น บ้างก็เปลี่ยนอาชีพไปเลย คนทำดูหลำ เปรียบเสมือนพระเอกของชาวประมง ซึ่งควรค่าแก่การสืบสานภูมิปัญญาไว้ให้ยังคงอยู่ ทักษะพิเศษของ “ดูหลำ” วิชาฟังเสียงปลา คือ สามารถบอกได้ทันทีว่า ณ จุดหนึ่งจุดนั้น มีปลาอยู่บ้างหรือไม่? เป็นปลาชนิดไหน? ปริมาณเท่าใด-คุ้มไหมกับการจะลงแรงวางอวน?ทรัพยากร

เลือกทริปเรียนทำเคย(กะปิ) ณ หมู่บ้านเคยแห่งปากพยิง
เคย(กะปิ) สุดยอดเคยอร่อยแห่งปากพยิง เริ่มตั้งแต่พากันรู้จักกรรมวิธีหาเคย เหตุใดที่ชาวประมงเลือกหยิบสิ่งที่ไม่ใช่เคย ปล่อยลงสู่ธรรมชาติ อาทิ ลูกปลาไหลทะเล แมงกะพรุน ลูกปลาลายเสือ ปลาข้างลาย หัวมันทะเล ปลาบู่ทะเล ปลาขี้จีน ปลาแป้น ปลากะตัก โดยเลือกเอาเฉพาะเคย ซึ่งตัวเล็กๆคล้ายวุ้นเพื่อนำมาทำผลิตภัณฑ์กะปิเคย จากนั้นพากันไปโขลกเคย

 

โปรดติดตามทริปเร็วๆนี้ : ผจญภัยป่าชายเลน
นั่งเรือแหวกโคลน
โดดทะเล พอกโคลน
อุโมงค์โกงกาง
ล่องเรือเล่าเรื่องป่าชายเลน
ปลูกป่าชายเลน

โปรดติดตามทริปเร็วๆนี้ : มาเป็นชาวประมงพื้นบ้านกัน
ออกทะเลเพื่อทำมาหากิน
เลี้ยงสัตว์ทะเลในกระชัง : ปูเปรี้ยว ปูดำ ปลากะพง
เลี้ยงกุ้งแบบธรรมชาติ
เลี้ยงหอยนางรมธรรมชาติ
ปรุงอาหารกับชาวประมงพื้นบ้าน

โปรดติดตามทริปเร็วๆนี้ : พายเรือรอบเกาะพยิงเก่า
ล่องเรือคลองเก่า และท่าเรือชาวบ้าน อาทิ หมู่บ้านเคย(กะปิ) ชมพฤกษา ชมทะเล ซื้ออาหารทะเล ร้านของชำบ้านๆ/จิบน้ำชากาแฟ

โปรดติดตามทริปเร็วๆนี้ : ชมธรรมชาติป่าชายเลน : นกหลากสายพันธุ์/โลมาสีชมพู
นกหลากหลายสายพันธุ์
ล่องเรือเล่าเรื่องป่าชายเลน
หัวใจพองฟูกับโลมาสีชมพู ณ ปากพยิง/ในถุ้ง

 

 

 

 

 

โบราณสถานโมคลาน

โบราณสถานโมคลาน

 

 

โบราณสถานโมคลาน บนสันทรายเก่าแห่งนครศรีธรรมราช คือ ตีรถะหรือสถานที่ข้ามห้วงมหรรณพแห่งวัฏสงสาร เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ปลดปล่อยวิญญาณอิสระ หลุดพ้น เชื่อมโยงโครงสร้างสภาพภูมิศาสตร์นับอดีตกาลที่ยังคงอยู่ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ มหาสมุทร ขุนเขาแผ่อาณาครอบคลุมนครศรีธรรมราช ตามหลักจักรวาลวิทยาที่พยามยามค้นหาศูนย์กลางแห่งจักรวาล……..ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ปลดปล่อยวิญญาณอิสระ หลุดพ้น : ระบบโครงสร้างรูปมัณฑละซับซ้อนสะท้อนจักรวาลวิทยา……..เกิดมาครั้งหนึ่งให้ได้มาเยือนโมคลานเมืองเก่า อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และทักทายกันมานะคะ ทีมนักสื่อความหมายแห่งโมคลาน รอพาท่านไปชมบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลของดินแดนแห่งนี้

 

การสร้างเมืองและศาสนสถาน รวมถึงหลายสิ่ง อาทิ แนวคูน้ำที่สร้างรอบเมืองหรือศาสนสถาน ปรากฎขึ้นในฐานะที่เป็นมหาสมุทรแห่งจักรวาล นอกจากนี้แนวกำแพงที่สร้างล้อมรอบศาสนสถาน ล้อมรอบเมือง ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของเทือกเขาที่ได้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ตลอดจนถึงเทวาลัยที่ตั้งตรงจุดกึ่งกลางของเมืองพอดิบพอดีถูกต้องตรงกับตำแหน่งของภูเขาแห่งจักรวาล บริบทสัมพันธ์อธิบายถึงดินแดนโมคลาน ห้วงอ่าวไทยถึงแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช ……..ยอดเขาหลวง ……..ธรณีประตููของแผนผังมัณฑละเล็ก และมัณฑละใหญ่……..ภาพจำลองตามระบบความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา……..พื้นที่โมคลานแห่งนี้มีความสอดคล้องหลายสิ่งที่มิใช่เป็นเพียงเทวาลัย ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือเรื่องราวการย้ายถิ่นของคนเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องเล่าเรื่องราวถึงกำแพงเมือง ก้อนอิฐ คูเมือง กิ่งคูคลอง เศษซากสัตว์พืชโบราณ รอยต่อการเปลี่ยนแปลงของยุค ความผูกพันของสายสัมพันธ์พราหมณ์ ตลอดจนถึงการเป็นดินแดนจาริกแสวงบุญมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ฯลฯ

 

มาพบกับหาคุณค่าโมคลานเมืองเก่าอันเป็นพื้นที่เชื่อมโยงเชิงอารยธรรม ร่วมกับสำนักพุทธศาสนา สำนักโบราณคดี และพี่น้องพราหมณ์แห่งนครศรีธรรมราช เชื่อมโยงคุณค่าและและเรื่องราวที่ปรากฎในบนดินแดนนครศรีธรรมราช……..นี่คือหนึ่งเดียวแห่งดินแดนอุษาคเนย์ 

 

มาพบกับความเจริญรุ่งเรือง(Prosperity) การสร้างอู่อารยธรรม(Civilization) แห่งบรรพชน  ในมิติที่ซับซ้อนในดินแดนตามพรลิงค์(เมืองคอนโบราณ)ที่อธิบายโดยนักสื่อความหมายแห่งโมคลาน เริ่มตั้งแต่รุ่นบรรพชนช่วงปี1000-1600(พุทธศตวรรษที่11-16) ถึงรุ่นหลานปี 1601-1900(พุทธศตวรรษที่17-19) ศาสนา การค้า และการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นว่าบริหารจัดการอย่างไร ทำไมคำว่ารุ่งเรืองรุ่งโรจน์ จนเป็นอู่อารยธรรมใหญ่แห่งหนึ่งของโลก การดำรงจารีต ประเพณี และวัฒนธรรม การยกระดับจิตของลูกหลานข้ามกาลเวลาจึงปรากฏร่วมกันในปัจจุบัน

 

ป.ล. : ร่องรอยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายพันปีผ่านหลักฐานโบราณ อาทิ เอกสาร จิตรกรรม มหากาพย์ สถาปัตยกรรม ถูกรื้อทำลาย/รื้อสร้างใหม่ๆไปตามกาล บางสิ่งไร้ร่องรอยเพราะบรรพชนถ่ายทอดความรู้โดยสอนหรือบอกทางกัน ลูกหลานใช้การจดจำทำงาน/นั่งทำงานกันในเวลาตอนนั้นๆ ทักษะการขีดเขียนมักจำกัดอยู่แต่ในวงสังคมชั้นสูง สำหรับปุถุชนท้องถิ่นทักษะการบันทึกเป็นอักษรจะไม่ค่อยปรากฏ แต่จะปรากฏผ่านเรื่องราวเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆกันมา ดังนั้นระเบียบวิธีวิทยาสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงต้องมีความพยายามอย่างสูงในค้นหา ติดตามเส้นทาง และสร้างสรรค์ผลงานเชิงคุณค่าเพื่อดำรงความดีงามสืบไป

 

 

เลือกทริปทัศนศึกษาแหล่งโบราณสถานและโบราณวัตถุโมคลาน

 

 

บุคคลประวัติศาสตร์บนแผ่นดินนครศรีธรรมราช : องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม

บุคคลประวัติศาสตร์บนแผ่นดินนครศรีธรรมราช : องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม

วัดเขาน้อย วัดเขาขุนพนม วัดศรีมงคล วัดพระบรมธาตุ เส้นทางแห่งกาลเวลา x 4 เส้นทาง ค่ายนักรบทหารพระเจ้าตาก ความลี้ลับแห่งหลุมพลี ถ้ำ และการบรรลุธรรม ชีวิตเขาพันล้าน – น้ำตกแห่งจักรวาล วัดร้างหน้าถ้ำ – ถ้ำหลวงตาปาน ตะเคียนทอง5พี่น้อง เส้นทาง9วัด จากวัดโมคลานสู่วัดเขาขุนพนม เส้นทางแห่งแรงบันดาลใจสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เพื่อนยามยาก ฯลฯ   เลือกทริปอัจฉริยะองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชบนทางโลกและทางธรรม : เส้นทางกรุงชิง-พรหมคีรี  

อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

อารยธรรมแห่งดินแดนโมคลาน

ชุมชนโบราณโมคลานเป็นชุมชนใหญ่ปรากฎในแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1 : 50,000 หมายเลข 49361 ระวาง L708 (อำเภอท่าศาลา) พิกัด 25485 ตั้งอยู่บนสันทรายเก่าซึ่งเกิดขึ้นในยุคโฮโลซีน(Holocene) อายุประมาณ 5,000-8,000 ปีมาแล้ว วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ขนานกับชายฝั่งอ่าวไทย สันทรายนี้อายุมากกว่าสันทรายที่เป็นที่ตั้งของตัวเมืองนครศรีธรรมราชที่เหยียดทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ตั้งแต่อำเภอสิชลจนถึงอำเภอเชียรหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างสันทรายเก่าแและใหม่นี้มีระยะห่างกันประมาณ 3 กิโลเมตร จากการเป็นสันทรายเก่าแก่จึงสันนิษฐานว่าชุมชนโมคลานเป็นแหล่งตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนสันทรายที่เกิดมาตามหลัง ซึ่งสอดคล้องกับลำนำชีวิตแบบย้อนยุคชุมชนโมคลานตามปรากฏหลักฐานโบราณคดีพุทธศตวรรษที่6 พุทธศตวรรษที่12-14 ที่ส่งต่อมาสู่ลูกหลานว่า “ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง ข้างหน้าพยัง ข้างหลังโพธิ์มี  7เจดีย์ 9ทวาร 4เลนจัตตุบาท” และลำนำชีวิตแบบร่วมสมัยชุมชนโมคลานในช่วง 100-150 ปีที่ผ่านมาว่า “เรือสำเภาใหญ่………” กล่าวคือทิศตะว้นออกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 3 กิโลเมตร คือสันทรายที่เกิดขึ้นมาช่วงหลังและอ่าวไทย ทิศตะวันตกของชุมชนแห่งนี้ออกไปราว 10 กิโลเมตรคือเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาหลวง […]

สวนแม่ปราง บริเวณวัดไทรงาม

สวนแม่ปราง บริเวณวัดไทรงาม

สวนแม่ปรางพื้นที่รายรอบกรุงนาง(ปราง) ครอบคลุมพื้นที่หมู่5 หมู่6 และหมู่7 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช

 

สวนแม่ปราง บริเวณวัดไทรงาม หมู่6  มีต้นไทรใหญ่ที่งดงาม ตั้งเด่นตระหง่านตาแผ่กิ่งก้านสาขากว้างใหญ่กลางลานวัด อายุราว 150+ปี  มาที่วัดแห่งนี้นับเป็นบุญอย่างยิ่งที่ได้กราบมาหลวงพ่อพร ฉนฺทโก เจ้าอาวาวาสปัจจุบัน วัย 83 ปี บรรพชิต 35 พรรษา สายเลือดแม่ปรางที่ชื่อ วาริน ณ นคร

 

สวนแม่ปราง : แผนที่สวนและการตั้งถิ่นฐาน

สวนแม่ปราง : แผนที่สวนและการตั้งถิ่นฐาน

แผนที่ยามอดีต : อธิบายได้ว่า ยามอดีตนั้นประชาชนหนาแน่นบริเวณใกล้ๆถ้ำกรุงนาง(ปราง : ซึ่งปัจจุบัน คือ หมู่5) มีลำธาร วัด สวนผักผลไม้ ประกอบด้วย ต้นมะปราง ลางสาด ทุเรียนพื้นบ้าน เงาะพื้นบ้าน  มังคุด ผักสวนครัวและสมุนไพรต่างๆ  ทั้งนี้ประชาชนและสวนผักผลไม้ ได้กระจายบางตาออกไปบริเวณรอบๆ แผนที่ปัจจุบัน :  อธิบายได้ว่า ในปัจจุบันนี้ประชาชนกระจายตัวอยู่ห่างไกลจากถ้ำกรุงนาง(ปราง : ซึ่งปัจจุบัน คือ หมู่6 หมู่7) สภาพเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ พื้นที่บริเวณใกล้ๆถ้ำกลับมีประชาชนบางตาและเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราค่อนข้างเต็มพื้นที่ สิ่งที่น่าประทับใจ คือ พบต้นทุเรียนพันธ์ุพื้นบ้าน/ลางสาดโบราณอายุ 100+ ปี ปรากฏในพื้นที่บริเวณห่างไกลออกมาจากถ้ำ แม่สุและภาคประชาชนได้ช่วยกันจัดทำแผนที่ต้นปรางที่ยังคงมีมากกว่า 50 ต้น และแผนที่ต้นไม้พันธ์ุพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลือบริเวณสวนแม่ปรางที่ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ความอร่อยของมะปรางดิบคือรสชาติเปรี้ยว […]